การนับปีในพม่า

อยากทราบว่าในพม่า ใช้ระบบปีแบบไหน แบบ พ.ศ.เหมือนบ้านเรา
หรือแบบ ค.ศ.
และปัจจุบบันนี้ ตรงกับปีที่เท่าไหร่ ขอบคุณล่วงหน้าครับ

ความคิดเห็นที่ 1
พม่ามีศักราชใช้ ๓ แบบ คือ สาสนศักราช, เมียนมาศักราช และคริสตศักราช สำหรับสาสนศักราชนั้น เทียบได้กับพุทธศักราชของไทย พม่านับเริ่มจากวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพาน เมื่อ ๕๔๔ ปีก่อนคริสตศักราช ซึ่งต่างจากไทยที่ถือเอาปีที่ ๕๔๓ ก่อนคริสตศักราชเป็นปีเริ่มพุทธศักราช ดังนั้นสาสนศักราชของพม่าจึงมากกว่าคริสศักราช ๕๔๔ ปี ด้วยเหตุนี้พม่าจึงครบปีกึ่งพุทธกาลก่อนไทย ๑ ปี กล่าวคือ พม่าฉลองปีกึ่งพุทธกาลในปี พ.ศ. ๒๔๙๙ หรือ ค.ศ. ๑๙๕๖ ส่วนเมียนมาศักราชนั้น เทียบได้กับจุลศักราชของไทย เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กอซาศักราช เมียนมาศักราชน้อยกว่าสาสนศักราช ๑๑๘๒ ปี และน้อยกว่าคริสตศักราช ๖๓๘ ปี เมียนมาศักราชนับเริ่มมาแต่ปลายรัชสมัยของพระเจ้าโปปาซอระหัน โดยหักศักราชเดิมออกเสีย ๕๖๐ ปี โดยถือว่าปีสุดท้ายของการเสวยราชย์ของพระองค์ ซึ่งเป็นปีเริ่มครองราชย์ของกษัตริย์องค์ถัดมา เป็น
ปีที่ ๒ ของเมียนมาศักราช

มีศักราชอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า มหาศักราช เป็นศักราชที่นับเริ่มจากการนับปีของเจ้ามหาสัมมตะ แห่งอินเดีย มหาศักราชมีจำนวนปีมากกว่าสาสนศักราช ๑๔๘ ปี

พม่ามีคำเรียกศักราชอีก ๒ แบบ คือ ศักราชสั้น หรือปีรัสสะ และศักราชยาว หรือปีทีฆะ สำหรับศักราชสั้นนั้นเป็นศักราชที่พระเจ้าโมยีงธรรมราชา แห่งราชวงศ์อังวะ คิดขึ้นเริ่มตั้งแต่ปีค.ศ. ๑๔๓๘ (ตรงกับเมียนมาศักราช ๘๐๐) เป็นศักราชที่หักเมียนมาศักราช ออกเสีย ๗๙๘ ปี จึงเรียกศักราชสั้น ปีแรกของศักราชสั้นเริ่มในปีที่ ๒ ของเมียนมาศักราช ศักราชสั้นไม่เป็นที่นิยมจึงเลิกใช้ไป ส่วนศักราชยาวนั้น เป็นศักราชเต็ม ซึ่งไม่ถูกหักจำนวนปีออกอย่างศักราชสั้น ศักราชยาวจึงเป็นชื่อศักราชที่ใช้เรียกจำแนกให้ต่างจากศักราชสั้นเท่านั้น แท้จริงแล้วศักราชยาว ก็คือเมียนมาศักราชนั่นเอง

ปัจจุบันพม่านิยมใช้เมียนมาศักราชเป็นศักราชตามประเพณีนิยมและรัฐนิยมสาสนศักราชเป็นศักราชตามศาสนนิยม และคริสตศักราชเป็นศักราชตามสากลนิยม วันสำคัญตามประเพณีนิยมจะกำหนดตามเมียนมาศักราชเป็นหลัก อย่างไรก็ตามชาวพม่าทั้วไปตลอดจนสิ่งพิมพ์ทั้งหลายมักนิยมใช้คริสตศักราชควบคู่ไปกับเมียนมาศักราช
จากบทความของ ผศ.วิรัช นิยมธรรม

ตอบกลับความเห็นที่ 1
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 2
เกร็ดประวัติศาสร์เกี่ยบกับเรื่องศักราช ไทยและพม่า

ไทยรับอิทธิพลการนับศักราชมาจากพม่าโดยเทียบเอามหาศํกราชของพม่า ต่อมาก็ได้ทำพิธีลบมหาศักราช(ซึ่งถือว่าเป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่)แล้วมาใช้จุลศักราชแทน ทางฝ่ายพม่ายังคงใช้มหาศักราชเหมือนเดิมอยู่

ต่อมาในรัชสมัยพระเจ้าปราสาททองก็ได้ทำการลบจุลศักราชอีกคือเปลี่ยนจากปีขาลเป็นปีกุน การทำพิธีเปลี่ยนศักราชถือเป็นพิธีที่ศักดิ์สิทธิ์และยิ่งใหญ่ นานทีถึงจะมีหน และคนที่ทำพิธีหรือต้นความคิดก็ต้องมีบารมีสูงส่งพอที่จะทำการ "ลบศักราช" ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคนที่ทำพิธีจะต้องถูกจารึกในประวัติศาสตร์ พระเจ้าปราสาททองได้แต่งสาสน์ไปถึงพระเจ้ากรุงอังวะเชิ้อเชิญให้ทางพม่ามาร่วมทำพิธิลบศักราชด้วย แต่ก็ได้รับการปฏิเสธจากพม่าด้วยเกรงว่าพิธีลบศํกราชเป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่และศักดิ์สิทธิ์ที่เกี่ยวเนื่องกับโหราศาสตร์ หากมีอันเป็นไปเกรงว่าจะนำความหายนะมาให้ พระเจ้าปราสาททองกริ้วพม่าอยู่เหมือนกันจึงขับไล่ทูตพม่าออกจากอยุธยาเสีย แล้วทำพิธีลบจุลศักราชตามที่บอกไว้ข้างบน จากนั้นก็ประกาศให้ทุกคนในขอบพัทธสีมาและประเทศราชให้ใช้จุลศักราชที่พระองค์ทรงประกาศขึ้นใช้ใหม่

จุลศักราชถูกใช้ต่อเนื่องมาตลอดจนถึงรัชสมัยของรัชกาลที่ห้า พระองค์ก็ทรงล้มเลิก จุลศักราช(จศ) เปลี่ยนมาใช้ รศ(รัตนโกสินทร์ศํกราช)แทน ต่อมารศ ก็ถูกยกเลิก


ตอบกลับความเห็นที่ 2
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 3
กล่าวถึงพระเจ้าปราสาททอง

หากใครได้ดูละคนไทยฟอร์มใหญ่เรื่อง "ขุนศึก" ที่พึ่งจบไปหมาดๆ ที่อั้ม อธิชาติแสดงคู่กับกิ๊กผม เอ้ย! ไม่ใช่ๆ แสดงคู่กับพลอย เฌอมาลย์ ช่วงท้ายๆ ของเรื่องจะมีการกล่าวถึง "จมื่นศรีสรรักษ์" ทหารหนุ่มที่ห้าวหาญทะลุทะลวง ไม่เกรงหน้าอินทร์หน้าพรม กล้าท้าประดาบกับเจ้าพระยามหาสงคราม(อั้ม อธิชาติ) เจ้าพระยามหาสงครามก็ทำนายว่าเติบไปในข้างหน้าจมื่นศรีสสรรักษ์ท่านนี้จะเป็นใหญ่ในแผ่นดิน


ซึ่งต่อมาจมื่นศรีสรรักษ์ที่ไต่เต้าจากทหารปลายแถวขึ้นไปเป็นถึงเจ้าสมุหกลาโหมคุมกองทัพอยุธยาทั้งหมด จากนั้นก็ทำการปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระเจ้าปราสาททอง ประวัติศาสตร์ไทยช่วงนี้มีสีสันมาก


ตอบกลับความเห็นที่ 3
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 4
ขอบคุณครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 4