>>ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับระบบประกันสุขภาพทั้ง 2 แบบ (privat, gesetzlich) ในประเทศเยอรมัน<<

พอดีวันนี้ได้บังเอิญมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับพี่ท่านหนึ่งเกี่ยวกับระบบประกันสุขภาพในประเทศเยอรมัน
โดยประเด็นหลักที่เป็นหัวข้อสนทนา คือ ข้อแตกต่าง ข้อดี และข้อเสียของการประกันสุขภาพทั้ง 2 แบบ
คำถามหลักๆที่โผล่ขึ้นมาก็เช่นว่า ทำไมถึงควรจะประกันสุขภาพแบบ Privat หรือทำไม Gesetzlich หลักๆก็คงจะไม่พ้น Factor เรื่องเงิน
และความสะดวกสบายกว่าของผู้ประกันแบบ Privat แต่หากเป็นแบบนั้น
ทำไมคนส่วนใหญ่ถึงยังประกันแบบ Gesetzlich? จริงๆแล้วสามารถเหมารวมได้หรือไม่ว่า
หากผู้ประกันมีฐานะที่สามารถจะรองรับค่าประกันสุขภาพแบบ Privat ได้นั้นก็คงจะสมัครใช้แบบ Privat กันไปเป็นส่วนใหญ่?
หากไม่ใช่เพราะอะไร หรือหากใช่เพราะอะไร?
การที่บริษัทประกันสุขภาพแบบ Gesetzlich เช่น AOK, TK ยังสามารถเปิดอยู่ได้นั้น
เพียงเพราะเยอรมันเป็นประเทศรัฐสวัสดิการ ที่บังคับให้ประชาชนทุกคนมีประกันสุขภาพจึงต้องมีการรับรองส่วนนี้ขึ้นมา
เพียงแค่นั้นหรือเพราะเหตุผลอื่นๆด้วย? จริงๆแล้วรัฐมีส่วนได้ส่วนเสียกับการประกันไม่ว่าจะแบบ privat หรือ gesetzlich แค่ไหน
หรือความจริงแล้วไม่ได้ตังค์ซักแดง?

สุดท้ายขอย้ายสนามมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในที่สาธารณะ เพราะคาดว่า
น่าจะมีผู้รู้อีกหลายท่านที่น่าจะมีข้อมูลและประสบการณ์ส่วนตัวที่ดีกว่า

ความคิดเห็นที่ 1
กว่าจะเข้าประกันพรีวาทได้ไม่ใช่ง่ายๆนะคะ รายได้ขั้นต่ำต้องมี ซึ่งคนที่จะได้รายได้ขั้นต่ำเท่าที่กำหนดนั้นก็มีไม่ใช่ระดับของคนส่วนใหญ่อ่ะค่ะ ...

แล้วต้องรอพิสูจน์นานด้วย ไม่ใช่เดือนนี้รายได้ถึง เดือนหน้าไม่ถึงแบบนี้ก็สมัครไม่ได้นะคะ มันต้องแบบ ถึงเรทของเค้ามากี่เดือนๆไรแบบนี้ด้วยอ่ะค่ะ ...

แล้วประกันพรีวาทนี่ ว่าไปมันแพงกว่าของเกเซทลิกเยอะเหมือนกันนะคะ ถ้าไม่นับพวกสิทธิพิเศษแบบข้าราชการงี้อ่ะ

แต่ที่แน่ๆ ไม่ต้องนัดค่ะ เข้าไปได้เลย สบายมาก แถมมีแอบแทรกคิวให้ด้วย ถ้าไม่มีแบบพรีวาทเหรอ รอไปเหอะ เป็นเดือนๆกว่าจะได้นัดหมอ ที่ป่วยๆแทบจะหายเลยง่ะ ..

ตอบกลับความเห็นที่ 1
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 2
ข้อดีของพรีวาทมีเยอะค่ะ และบางทีเทียบออกมาก้อถูกกว่าด้วย ที่บ้านใช้ allianz ค่ะ
ของบ้านเราโชคดีที่ใช้พรีวาท เพราะลูกสาวมีโรคประจำตัว การรักษาได้เต็มร้อย และเร่งด่วน อยากได้เครื่ิองมือแพทย์อะไรมาใช้ที่บ้าน ประกันก้อสั่งจ่ายให้ตลอด แบบเครื่องเจาะเลือด โทรบอกประกัน อีกสองวันเครื่องมือส่งถึงบ้าน แต่ถ้าเทียบกับคนอื่นที่เป็นประกันรัฐ ขอยุ่งยากค่ะ ต้องมีใบโน่นนี่จากหมออธิบายเยอะแยะ

ที่สำคัญ รู้มาว่า gesetzlich พวกหมอจะได้งบจำกัดมาจากบริษัทประกันค่ะ แบบว่าเดือนนึงจะได้เท่าไหร่เหมาไป สมมติว่าหมอออกใบ rezept เกินโควต้าในเดือนนั้น ที่เกินหมอต้องจ่ายเองค่ะ มันเลยเป็นการยากที่คนไข้อาจจะได้รับยา หรือได้เข้าคอร์สต่างๆ ตามต้องการ หมอของคนที่รู้จักแถวบ้าน ปิดคลินิกโดยไม่ประกาศล่วงหน้า เนื่องจากงบจ่ายยาเกินโควต้าในเดือนนั้น จะปฏิเสธคนไข้ก้อไม่ได้ เลยปิดคลินิกอาทิตย์นึง

เรื่องได้คิวด่วนเราว่าสำคัญเหมือนกัน ของสามีเรา เมื่อวานซืนปวดหู โทรนัดหมอ เค้าบอกอีกสองวันค่อยมา พอบอกว่าเป็นพรีวาท สรุปก้อคือเข้าไปที่คลินิกได้เลย

ปล. ของที่บ้าน คุณสามีกับลูกสาวเป็นแบบ 100% privat.
แต่ส่วนตัวเราเอง เนื่องจากเงินเดือนน้อยนิด เลยทำได้แค่ gesetzlich + add on Privat อันนี้ไม่ต่างอะไรกับประกันรัฐเลย ดีก้อเฉพาะเวลาต้องเข้าโรงพยาบาล ได้ chefarzt behandlung เข้ามาเพิ่มแค่นั้น. จำได้ว่าตอนปวดท้องคลอดลูก ไปๆ มาๆ ต้องเปลี่ยนเป็นผ่าคลอด เราขอให้เค้าฉีดยาบล๊อกหลังให้เร่งด่วน สรุปไม่มีใครสามารถฉีดให้ได้เนื่องจาก oberarzt ไม่อยู่ในขณะนั้น เพราะเธอกำลังขับรถฝ่าหิมะมาอยู่ ตอนนั่นคิดอย่างแรก แมร่ง รู้งี้ไม่ทำ privat add on ดีกว่า
อันนี้เป็นข้อดีอีกอันของ privat ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในโรงพยาบาล ทุกอย่างต้องผ่านการตัดสินใจของ oberarzt หรือ chefarzt เป็นอย่างต่ำค่ะ

ตอบกลับความเห็นที่ 2
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 3
เราว่าคนที่รายได้ไม่สูง ถ้าทั้งครอบครัวทำงานหารายได้คนเดียวทำประกันแบบ Gesetzlich จะดีกว่ามากเพราะเบี้ยประกันไม่แพงมาก ประกันคุ้มครองทั้งครอบครัว คนรู้จักเราสามีเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยรายได้สูงแต่ไม่มีสิทธิทำประกันแบบ Gesetzlich ต้องทำแบบ Privat ต้องจ่ายเพิ่มให้ภรรยาและลูกรวมๆแล้วมากกว่าคนที่รายได้พอๆกันแต่ใช้ประกันแบบ Gesetzlich

ประสบการณ์ส่วนตัวทำประกันกับ อาโอคา ได้รับการบริการที่ดี ลูกเกิดก่อนกำหนดอยู่โรงพยาบาลเด็กเดือนหนึ่งประกันก็จ่ายหมด ตอนคลอดลูกคนโตรอคลอดอยู่ต้องเปลี่ยนไปผ่าคลอดผดุงครรภ์ก็เรียกหมอมาฉีดยาบล็อกหลังทันที ต้องใช้เครื่องปั๊มนมประกันก็จ่ายให้ไม่มีเกี่ยงงอน คนเล็กต้องไปฝึกพูดประกันก็จ่ายให้ เรื่องนัดแถวบ้านเราไม่มีปัญหาว่าประกันแบบไหน อาจจะเป็นเพราะลูกค้าส่วนใหญ่ประกันแบบ Gesetzlich เคยมีคนไข้มารอแล้วบอกว่าเค้าประกันแบบพริวาท โดนผู้ช่วยหมอบอกว่าก็ต้องรอตามคิวเพราะคนอื่นเค้าก็รอเหมือนกัน เราว่าอยู่ที่โรงพยาบาลและหมอมากกว่าที่จะดูแลคนป่วยยังไง

เราเองอายุเยอะแล้วจะเปลี่ยนไปประกันแบบพริวาทก็คงเสียเบี้ยประกันแบบเยอะมากๆก็ตกลงปลงใจอยู่กัยอาโอคานี่แหละค่ะ เด็กๆก็ได้รับการดูแลอย่างดี ข้อเสียของประกันแบบพริวาทคือจะกลับมาประกันแบบ Gesetzlich ค่อนข้างยุ่งยากค่ะ


ตอบกลับความเห็นที่ 3
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 4
บริษัทประกันไพรเวททุกวันนี้ถ้าไม่มีผู้ประกันที่เป็นกลุ่มข้าราชการใช้อยู่แล้วล่ะก็ ป่านนี้กิจการนี้ล้มหายตายจากไปเสียนานแล้ว ซึ่งจะว่าไปก็ไม่ได้ยุติธรรมกับสังคมสักเท่าไหร่ที่ต้องเอาเงินภาษีประชาชนไปจ่ายค่าประกันให้กับข้าราชการทุกคน 50-70% ลำพังเฉพาะลูกจ้างที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ที่จะจ่ายประกันไพรเวทได้คือปีละไม่ต่ำกว่า 49,500 มีแค่หยิบมือ

ส่วนผู้ประกันไพรเวทกลุ่มข้าราชการ ผู้ทำกิจการส่วนตัว หรือผู้มีอาชีพอิสระเช่น ศิลปิน นักหนังสือพิมพ์ คนกลุ่มนี้สามารถทำประกันได้โดยไม่มีกำหนดเพดานรายได้แต่อย่างใด ฉะนั้นอาจจะมีรายได้น้อยกว่าปีละ 49,500 ยูโรก็ทำได้

เรื่องการบริการของประกันไพรเวทที่ครอบคลุมมากกว่านั้นเป็นเรื่องจริงที่ผู้ประกันรัฐได้รับไม่เทียบเท่า แต่ก็ย้ำว่า บริการประกันสุขภาพของรัฐได้มาตรฐานคุณภาพที่ดี และดีกว่าประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ หลายประเทศเมื่อเทียบกับเงินค่าประกันที่จ่ายไปกับบริการที่ได้รับ แต่ถ้าอยากไปเทียบกับประเทศสแกนดินาเวียนก็ต้องยอมจ่ายภาษีให้สูงเหมือนๆ กัน

คนรอบตัวที่รู้จักทั่วไปมีประกันของรัฐทั้งสิ้น เห็นเจ็บป่วยหนักเป็นโรคเรื้อรังต้องการยาตลอดเวลาเช่น เบาหวาน หรือ เส้นเลือดลำคอตีบต้องได้รับการผ่าตัด หรือ บางคนต้องได้รับการล้างไตประจำสัปดาห์ หรือ เพื่อนก๊วนเทนนิสด้วยกัน ผ่าตัดเปลี่ยนสะโพก เปลี่ยนสะบ้าหัวเข่า ทุกคนก็มีความพอใจกับบริการประกันรัฐกันดีอยู่

บางทีก็ดูเหมือนกับว่า คนต่างชาติเสียอีกที่มีความรู้สึกอ่อนไหวกับเรื่องประกัน 2 ระบบนี้ ด้วยความที่ตนเองมีปมว่าจะโดนดูถูกเหยียดหยาม การมีประกันไพรเวทช่วยสร้างความรู้สึกลึกๆ ว่าตนเองก็ไม่ได้เป็นประชาชนชั้น 2 ที่ใครๆ จะมาดูถูกได้

แล้ว "พี่" ที่จขกท ระบุในกระทู้นั้นเขาคิดอย่างไรล่ะครับ? ลองนิมนต์ท่านมาเสวนากันดูทีปะไร



ตอบกลับความเห็นที่ 4
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 5
เรามีประกันของรัฐ ที่ผ่านมาคิดว่าหมอให้การรักษาเราดีทีเดียว ดีกว่าโรงพยาบาลรัฐที่เมืองไทย เพียงแต่บางครั้งต้องรอนานแค่นั้น แต่เมื่อถึงมือหมอแล้วเขาก็วินิจฉัยและรักษาเราดีค่ะ เราว่าบางคนย้ายไปประกันแบบไพรเวทก็เพราะทำอาชีพอิสระหรือมีกิจการ ซึ่งถ้าทำประกันของรัฐต่อไปก็ต้องจ่ายพอ ๆ กับการประกันแบบไพรเวท หรือจ่ายแพงกว่าการประกันแบบไพรเวท และอาจรู้สึกว่าแม้จะจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพของรัฐตามอัตราสูงสุดที่เกือบ ๆ 600 ยูโรต่อเดือน แต่บางทีต้องรอคิวนานเท่ากับคนที่จ่ายเบี้ยประกันน้อยกว่าหรือพวกตกงานที่รัฐช่วยจ่ายเบี้ยประกัน และการประกันแบบไพรเวทสามารถเลือกการทำสัญญาครอบคลุมที่เหมาะกับความต้องการของตนเองได้

เพื่อนสามีเราที่มีเงินเดือนเกิน 49500 ยูโรต่อปีก็ยังประกันสุขภาพของรัฐกันทั้งนั้น บางคนไม่มีลูกด้วยซ้ำแต่ก็ยังไม่เปลี่ยนไปประกันแบบไพรเวท ส่วนคนรู้จักที่ประกันแบบไพรเวทส่วนใหญ่จะทำอาชีพอิสระ มีกิจการ ซึ่งไม่ได้ถูกบังคับให้อยู่ในระบบการประกันสุขภาพของรัฐ

การประกันสุขภาพแบบไพรเวทในเยอรมันไม่ได้หมายความว่าบุคคลนั้นมีฐานะดีเสมอไป บางคนย้ายไปประกันแบบไพรเวทก็เพราะจ่ายถูกกว่าการประกันสุขภาพของรัฐ บางคนเป็นข้าราชการซึ่งได้รับเงินช่วยเหลือการรักษาพยาบาลตามที่คห. 4 ว่าไว้ จึงทำประกันแบบไพรเวท เพราะบริษัทประกันแบบไพรเวทมีอัตราเบี้ยประกันพิเศษสำหรับข้าราชการ ซึ่งทำให้จ่ายถูกกว่าการประกันสุขภาพของรัฐ

โดยส่วนตัวแล้วชอบระบบการประกันสุขภาพของรัฐที่เยอรมันค่ะ เพราะเป็นระบบที่ผู้มีรายได้มากช่วยเหลือผู้ที่มีรายได้น้อยกว่า แม้ว่าจะมีรายได้ต่างกันแต่ได้รับการรักษาที่เท่าเทียมกัน แต่คิดว่ารัฐควรบังคับให้ทุกคน ทุกอาชีพ ทุกวัย เข้าระบบการประกันสุขภาพของรัฐให้หมด และให้คิดเบี้ยประกันตามรายได้จริง โดยยกเลิกเพดานรายได้ขั้นต่ำที่ใช้ประเมินอัตราเบี้ยประกันสุขภาพสำหรับผู้ทำอาชีพอิสระหรือมีกิจการ ซึ่งในปัจจุบันหากทำอาชีพอิสระแบบเต็มเวลา (hauptberuflich selbstständig) แต่มีรายได้ต่อเดือน 875 - 1968.75 ยูโรต่อเดือน จะต้องจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพของรัฐเป็นเงินประมาณ 16% ของ 1968.75 แม้ว่าจะมีรายได้ไม่ถึง 1968.75 ยูโรต่อเดือนก็ตาม (ยกเว้นถ้าได้รับเงินช่วยเหลือในการเริ่มต้นกิจการจะเสียเบี้ยประกันน้อยกว่านี้) ซึ่งทำให้คนรอรับเงินช่วยเหลือตกงานมากกว่าที่จะคิดหาหนทางประกอบอาชีพด้วยตนเอง เพราะเมื่อได้รับเงินช่วยเหลือตกงาน รัฐก็ยังจ่ายเบี้ยประกันให้

นอกจากนี้อยากให้รัฐลดอัตราเบี้ยประกันของผู้ประกอบอาชีพอิสระลงให้น้อยกว่า 16% (ผู้เป็นลูกจ้างเสียแค่ประมาณครึ่งเดียวเท่านั้น แต่ผู้ทำอาชีพอิสระต้องเสียทั้งส่วนของนายจ้างและลูกจ้างคือประมาณ 16% ของรายได้ต่อเดือน) ผู้ประกอบอาชีพอิสระจะได้ไม่ย้ายออกไปประกันแบบไพรเวทกันหมด และควรบังคับให้ข้าราชการเข้าระบบการประกันสุขภาพของรัฐทุกคน และลดจำนวนเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลสำหรับข้าราชการลง ซึ่งเงินส่วนนี้ได้มาจากภาษีของประชาชน และควรมีอัตราเบี้ยประกันขั้นต่ำสำหรับคู่สมรสที่ไม่ได้ทำงานและบุตรที่กำลังศึกษาเล่าเรียน ซึ่งในปัจจุบันนั้น คู่สมรสที่ไม่มีรายได้หรือมีรายได้น้อยและบุตรที่กำลังศึกษาเล่าเรียนของผู้ที่ประกันสุขภาพของรัฐไม่ต้องจ่ายเบี้ยประกัน ถ้าใครอยากได้รับการบริการเพิ่มเติมก็ให้ทำสัญญาประกันสุขภาพแบบไพรเวทเอา และให้ยุบรวมบริษัทประกันสุขภาพของรัฐให้เหลือแค่บริษัทเดียว เพราะจะได้ประหยัดงบประมาณด้านบุคลากรและการจัดการ


ตอบกลับความเห็นที่ 5
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 6
ขออนุญาตก๊อปความเห็นพี่เค้ามาเพียงแค่บางส่วน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแล้วกันนะคะ

ส่วนตัวเรานั้นมองว่า จริงอยู่ที่ประกัน Privat ได้รับการดูแลที่ดีกว่ากับเงินที่ต้องเสียเพิ่มขึ้น แต่อย่างที่เราได้เคยให้เหตุผลกับพี่ท่านนั้นไปแล้วเช่นกันว่า
การจะเปลี่ยนกลับจาก Privat ไป Gesetzlich นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย และหากจะมองว่า ที่บริษัทประกันสุขภาพประเภท gesetzlich ยังมีอยู่นั้น เพียงเพราะทางรัฐบังคับให้ประชาชนทุกคนมีประกันสุขภาพนั้น เราก็มองว่าไม่จริงไปซะทั้งหมด ถ้ามองกันอย่างเป็นกลาง การประกันสุขภาพแบบ gesetzlich นั้นก็ครอบคลุมเรื่องสุขภาพ ไปหลายส่วนแล้ว (แน่นอนว่า ไม่สามารถครอบคลุมได้ซะทุกเรื่อง) แต่ลำพังจะเอาแค่เรื่องเงินมาเป็น factor หลักว่า หากมีเงินแล้ว ใครๆก็เปลี่ยนไปประกันแบบ privat กันหมดนั้น เราก็ไม่เห็นด้วย อย่างที่คุณ Sonnenschein เองก็ยกให้เห็นเป็นตัวอย่างเช่นกันว่า บุคคลที่มีเงินเดือนเดือน หรือเงินเดือนรวมต่อปีเกินที่ทางรัฐกำหนด และสามารถจะเปลี่ยนไปประกันแบบ privat ได้อย่างไม่มีปัญหาใด แต่กลุ่มคนเหล่านี้ก็ยังใช้ประกันสุขภาพแบบ gesetzlich อยู่ดีนั้น ก็แสดงให้เห็นแล้วว่า เรื่องเงินไม่ใช่ factor ที่จะเป็นตัวตัดสินเสมอไป ส่วนคำถามที่โดยถามว่า หากเลือกได้ในสิ่งที่ดีกว่า ตัวเราจะไม่ย้ายไปเองงั้นเหรอนั้น?? ให้เราตอบจากมุมของตัวเองนั้นว่า ก็ตอบได้เหมือนหลายๆท่านข้างต้นค่ะว่า รู้และยอมรับความจริงค่ะว่า ประกันแบบ privat จะได้การดูแลที่ดีกว่า คิวไม่ยาวเท่า และอื่นๆ แต่เราคิดว่า หากตัวผู้ประกันรู้วิธีที่จะจัดการ เช่น หากรู้ว่า จะต้องรอนัดนาน ก็โทรไปแต่เนิ่นๆ แล้วเผื่อเวลาไว้ หรือหากกลัวว่า จะไม่มีหมอรับเป็นคนไข้ ก็หาเวลาช่วงที่หมอที่ต้องการเปิดรับคนไข้ใหม่ แล้วค่อยไปสมัครให้ขึ้นอยู่ว่า มีประวัติของเรา รอบต่อๆไปก็จะมีปัญหาน้อยลง มันมีทางที่คนอื่นเค้าทำได้ และเราก็ทำได้โดยที่ไม่ได้ยากเย็น แค่ "ต้องเรียนรู้ที่จะช่วยตัวเอง" เราคิดว่า สำหรับตัวเรา เราโอเคตรงนี้ ส่วนที่ว่า

"ระบบการจัดการ (ที่ถึงแม้จะมีมายาวนานแล้ว) ยังไม่ได้ประสิทธิผลมากนัก อันจะเห็นได้จากการที่แพทย์ได้เงินน้อยเกินไป ทำให้ผลที่ตามมาเป็นลูกโซ่ คือแพทย์ไม่ยอมตรวจ บ่ายเบี่ยงภาระงานแบบขอไปที อุปกรณ์ตามคลินิคต่าง ๆ ด้อยคุณภาพลง ทำให้การรักษาเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ"

ก็อย่างที่หลายๆท่านข้างบนบอกนะคะว่า ระบบที่มีและที่เป็นอยู่ ไม่ได้แย่ซะขนาดนั้นหากเทียบกับหลายๆประเทศ หรือแม้แต่อเมริกาที่พึ่งจะนำกฏนี้มาใช้ เราก็ยังคิดว่า หากระบบมันแย่ซะขนาดนั้น ประชาชนประเทศเยอรมันก็คงจะไม่นิ่งเฉย คงจะมีประท้วงจริงจังเป็นเรื่องราวใหญ่โตแล้ว ก็เห็นจากประสบการณ์หลายท่านข้างบนแล้วว่า บางท่านที่มีกรณีที่ร้ายแรง ไม่ว่าจะต้องผ่าตัว คลอดลูก หรืออะไรก็แล้วแต่ ไม่ได้มีปัญหามากมาย เพื่อนของเราเองก็โดนผ่าตัวไปเมื่อ 2-3 เดือนที่แล้ว เค้าเองยังพูดเองด้วยซ้ำว่า บริการที่นี่กับเงินค่าประกันที่จ่าย และการดูแล ค่าใช้จ่ายที่แบ่งเบาไป ดีกว่าโรงพยาบาลรัฐที่ไทยด้วยซ้ำไป เครื่องมือที่ใช้ผ่าตัด เค้าก็ไม่ได้แยกนิคะว่า ต้องใช้เครื่องนี้กับ privat หรือเครื่องนี้กับ gesetzlich ส่วนกรณีของหมอนั้น ก็อยากจะถามกลับไปว่า แล้วหมอไทยหรือประเทศอื่นๆนั้นดีทุกคนหรือ? มันขึ้นอยู่กับที่นิสัย หรือระบบของรัฐกันแน่หากหมอไม่มีความรับผิดชอบ และตรวจโรควินิจฉัยไม่ดีเท่าที่ควร? แล้วเค้าบังคับผู้ประกันให้อยู่กับเค้าหรือหากไม่พอใจ? ผู้ประกันทุกคนมีสิทธิจะย้ายไปหาหมอใหม่เมื่อไหร่ก็ตามที่ต้องการก็ได้ไม่ใช่เหรอคะ? หมอดีหรือไม่ดีหลักๆมันขึ้นอยู่กับตัวบุคคล หรือระบบ ขอให้แยกแยะให้ดีๆนะคะ ถ้าจะบอกว่าหมอแย่ไปหมด ก็ขอให้ลองย้อนกลับไปอ่านความเห็นข้างบนๆดูแล้วกันค่ะ

อ่อ..เพื่อนเราก่อนโดนผ่าตัด ไปตรวจกับ Frauenarzt ที่เปิดย้ายมาเปิด Praxis ใหม่ ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย ซึ่งเราเองก็ยังชมหมอด้วยตัวเอง เพราะ praxis เค้าทำดีมาก หมดเค้าก็ตรวจเพื่อนเราด้วยเครื่องมือพวกนี้ปกตินิคะ ไม่ได้มีแยะแยกว่าจะประกัน privat หรือ gesetzlich อะไร และเพื่อนเราก็ประกัน gesetzlich ปกติค่ะ เพราะฉะนั้นจะบอกว่า ประกัน gesetzlich แย่อย่างที่พี่เค้าว่ามานั้น ก็ยังไม่เห็นด้วยอยู่ดีค่ะ แต่ถ้าจะให้บอกว่า ดีทุกคน ทุกที่ คงจะเป็นไปไม่ได้หรอกค่ะ ไม่ว่าที่ไหนประเทศไหนบนโลกนี้คงไม่มี ในทางกลับกันต่อให้คุณประกัน privat ถึง Praxis จะดูแลคุณดีแค่ไหน หากหมอไม่มีคุณภาพ มันจะต่างกันตรงไหน กับประกัน gesetzlich? เราคิดว่า มันอยู่ที่ตัวคนประกันเองว่า จะยอมอยู่กับหมอแย่ๆ หรือจะย้ายไปหาหมอคนอื่นที่ดีกว่า

ในส่วนมุมมองของพี่ท่านนั้น ยังไงก็รอให้พี่ท่านนี้มาแสดงความคิดเห็นของพี่เค้าด้วยตัวเองแล้วกันค่ะ


ตอบกลับความเห็นที่ 6
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 7
ที่บอกว่า

"ระบบการจัดการ (ที่ถึงแม้จะมีมายาวนานแล้ว) ยังไม่ได้ประสิทธิผลมากนัก อันจะเห็นได้จากการที่แพทย์ได้เงินน้อยเกินไป ทำให้ผลที่ตามมาเป็นลูกโซ่ คือแพทย์ไม่ยอมตรวจ บ่ายเบี่ยงภาระงานแบบขอไปที อุปกรณ์ตามคลินิคต่าง ๆ ด้อยคุณภาพลง ทำให้การรักษาเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ"

ไม่จริงแน่นอนครับ แพทย์ได้เงินน้อยเกินไปนี่เทียบกับใครไม่ทราบ เทียบกับรายได้แพทย์ในอเมริกาหรือสวิสไม่ได้นะครับเพราะระบบประกันสุขภาพต่างกันอย่างสิ้นเชิงในแง่ที่ว่า ประเทศที่แพทย์ได้เงินเดือนแพงจะไม่มีระบบประกันสุขภาพรัฐ จะเป็นของเอกชนทั้งหมด เท่ากับว่าบริษัทประกันกับแพทย์หากินร่วมกันโก่งค่าบริการ จนถึงจุดหนึ่งที่ผู้ประกันไพรเวททั้งหลายไม่อยู่ในฐานะที่จะจ่ายได้อีกต่อไป

อาชีพแพทย์ในเยอรมนีมีสมาคมเป็นของตนเองเหมือนอาชีพอื่นที่จะทำหน้าที่เสมือนสหภาพต่อรองเงินเดือนค่าตอบแทนที่เรียกว่า Tarif ให้สมน้ำสมเนื้อกับอาชีพ สมาคมที่ใหญ่และสำคัญที่สุดของแพทย์ที่ทำหน้าที่นี้อยู่คือ Der Marburger Bund และยังมีสมาคมอื่นอีก 2 สมาคม ทุกอาชีพมีกลไกที่กฏหมายเอื้อให้มีสิทธิออกมาเรียกร้องต่อรองเพื่อขอความเป็นธรรมระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง เมื่อไหร่แพทย์ได้เงินน้อยเกินไปก็จะออกมาเดินขบวนอยู่บนถนนให้เคยเห็นมาแล้ว เมื่อตกลงกันได้ก็กลับเข้าไปทำงานกันใหม่

ข้ออ้างที่ว่า แพทย์ได้รับค่าตอบแทนน้อยแล้วไม่ยอมรักษา ไม่สามารถทำได้เพราะในเมื่อคนไข้ทุกคนต้องมีประกันสุขภาพตามกฏหมาย คลีนิคแพทย์ทุกที่จะต้องทำสัญญากับสมาคมบริษัทประกันสุขภาพทั้งของรัฐและเอกชนเพื่อรับค่ารักษา เรียกว่า Kassenärztlichen Vereinigungen (KV)
คลินึคแพทย์จึงต้องทำตามมาตรฐานและเงื่อนไขที่ทางบริษัทประกันเป็นผู้กำหนด มิฉะนั้นก็ไม่ผ่านคุณสมบัติที่จะเป็นคู่สัญญา ซึ่งเท่ากับว่าระบบจะเป็นการควบคุมคุณภาพของแพทย์ไปด้วยให้สม่ำเสมอเท่าเทียมกัน

แม้แต่หมู่บ้านที่อยู่เขตที่เรียกได้ว่าไกลปืนเที่ยง ยังไม่เคยเห็นคลึนิคแพทย์ไมได้คุณภาพ และถ้าเกิดไม่มีการยอมรับการรักษาหรือรักษาแบบขอไปทีจริง ถือเป็นเรื่องผิดกฏหมาย ขอให้มีหลักฐานพิสูจน็ได้ คนไข้สามารถแจ้งทางบริษัทประกันให้ดำเนินการทันที หรือ แม้แต่แจ้งหน่วยงานของกระทรวงสาธารณาสุขให้จัดการได้

ตอบกลับความเห็นที่ 7
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 8
เอาลิงค์มาแจก ศึกษากันเองนะคับ http://www.krankenkassentarife.de/vergleich-gkv-pkv.htm
---------------------------------
แถม

http://www.finanztip.de/web/abc-der-krankenkassen/gkv-pkv-vergleich.htm

ตอบกลับความเห็นที่ 8