แม่น้ำโขง

เห็นข่าวนางคลินตันคุยกับ สปป.ลาว ว่าอยากให้ระงับโครงการสร้างเขื่อนไซยะบุรีไว้ชั่วคราวเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว ลาวรับปาก และก็ตามมาด้วยเขมร และก็ไทย โดยนายกปูเมื่อวานนี้

ผมเข้าใจว่าแม่น้ำโขงสำคัญต่อชีวิตคนนับล้านๆ โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยรอบลำน้ำ
แต่สำหรับคนในเมือง คนทำงานบริษัท ข้าราชการ ... แม่น้ำโขง จะเกี่ยวข้อง สัมพันธ์กับเรายังไงบ้าง ผมนึกไม่ค่อยออกจริงๆ

อยากให้ช่วยกันแสดงความเห็นหน่อยครับ รวมถึงเรื่องว่าเห็นยังไงกับการสร้างเขื่อนในแม่โขงด้วย

ความคิดเห็นที่ 1
ไม่มีความรู้
แต่สิ่งหนึ่งที่อยากเห็น และเฝ้าดูมานานแล้ว
ซึ่งจะส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม
และยังจะมีผลกระทบต่อ ประชากรในพื้นที่ทุกหมู่เล่า เช่น
เกษตรกรหรือคนในชนบท
รวมทั้งคนในเมือง คนทำงานบริษัท ข้าราชการ......
อย่างที่คุณตั้งเป็นประเด็นขึ้นมา

หากได้มีการนำ ทรัพยากรน้ำ ของแม่น้ำโขงมาใช้
ในการเกษตร และเพื่อสร้างพลังงานไฟฟ้า
รวมทั้งปริมาณน้ำฝน ทีมีอย่างเหลือเฟือ จนเกิดปัญหาน้ำท่วมในหน้าฝน
มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ในพื้นที่ภาคอีสานไทย
อย่างที่เคยมีรัฐบาลในอดีต วาดฝันไว้


ตอบกลับความเห็นที่ 1
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 2
แม่น้ำสำคัญๆ ของโลกมักจะเป็นต้นกำเหนิดอารยธรรมของมนุษย์

ความสัมพันธ์ของแม่น้ำโขงที่มีต่อมนุษย์ที่อาศัยย่อมแตกต่างตามสภาพภูมิศาสตร์ แต่ถ้าจะกล่าวโดยรวมแล้ว แม่น้ำโขงคือแม่น้ำสายหลักในภาคพื้นอินโดจีน ยิ่งหากใครได้อ่านงานเขียนของนักประวัติศาสตร์ของท่านสุจิตต์ วงษ์เทศ ศาสตราจารย์ศรีจักร วัลลิโภดม จะเห็นว่าอารยธรรมของคนไทย ลาว เกี่ยวโยงถึงแม่น้ำโขงไม่น้อย พ่อขุนรามคำแหงนั้นผูกพันธ์กับแม่น้ำโขงที่บันทึกบนศิลาว่า น้ำโขงยามหน้าแล้งดื่มแล้วหวานชื่นใจประมาณนั้น


อารยธรรมลุ่มแม่น้ำโขงนั้นยังดำรงอยู่ไว้ให้เราได้ศึกษาและชื่นชมไม่ต่างจากอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสายใหญ่อื่นๆ ในโลกอย่างเช่นภาพวาดสมัยก่อนประวัติศาสตร์ผาแต้ม อาณาจักรหลายๆ อาณาจักรที่เคยรุ่งเรืองเรียงตายเป็นจุดๆ ตามแม่น้ำโขง เช่นเชียงทอง(หลวงพระบาง) เชียงคาน ทรายฟอง(หนองคาย) ศรีโคตรบูรณ์(นครพนม) จำปาศักดิ์ แต่น่าเสียดายว่าคนบางกลุ่มได้ผูกมัดอารยธรรมที่ลาบลุ่มแม่น้ำโขงไว้เพียงสภาพความเป็นอยู่ที่แร่นแค้นของคนที่อาศัยอยู่ในภาคอีสานในปัจจุบัน ความชื่นชมและมานะที่จะเรียนรู้ก็แห้งหายไป บางทีอารยธรรมที่ว่านี้ถูกมองว่าต่ำต้อยด้วยซ้ำไป


ตอบกลับความเห็นที่ 2
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 3
ถ้าใครได้เคยดูสารคดีเรื่อง "แม่น้ำโขง​ สายน้ำพยศ" และ "แม่น้ำโขง มหานทีแห่งชีวิต" จะรู้ว่าอารยธรรมแม่น้ำโขงยิ่งใหญ่ไม่แม้สายน้ำอื่นๆ


ผมโดยส่วนตัวมีความผูกพันกับแม่น้ำโขงอย่างอธิบายไม่ถูก เวลากลับไปเยี่ยมเมืองไทยทีไร ไม่รู้ว่าเป็นอะไร ต้องไปเห็นแม่น้ำโขงให้ได้ โดยเฉพาะที่อำเภอสังคมจังหวัดหนองคายช่วงแม่น้ำโขงลด จะเห็นหาดทรายกลางแม่น้ำโขงคดเคี้ยวไปตามกระแสน้ำ และช่วงนั้นน้ำโขงจะใสเย็น


ตอบกลับความเห็นที่ 3
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 4
แม่น้ำโขงไหลผ่านทั้งหมด 6 ประเทศ ถ้าทุกประเทศต่างก็สร้างเขื่อนกั้นน้ำในประเทศของตนเอง เพื่อผลประโยชน์ตามที่ คห 1 ระบุ แล้วจะเหลือน้ำในแม่น้ำสักเท่าไหร่ครับ? และประเทศที่อยู่ใต้น้ำสุดจะอยู่ได้อย่างไร? ผมเห็นด้วยอยู่เรื่องเดียวคือ การหาวีธีเก็บน้ำฝนที่มีปริมาณมากมายมาไว้ใช้ในหน้าแล้ง โดยไม่ต้องสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำ

ขนาดจีนสร้างเขื่อนเสร็จแค่ 2 เขื่อนในโครงการสร้างทั้งหมด 8 เขื่อน ประเทศในกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขงยังมีปัญหามากมายตามมาทุกวันนี้ และประเทศที่สร้างปัญหาคือจีนก็ไม่เข้ามาเป็นสมาชิกในกลุ่มแม่น้ำโขงเสียด้วย


แม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นหนึ่งในแม่น้ำที่ยิ่งใหญ่ของโลก ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา ลุ่มแม่น้ำแห่งนี้ถูกเปลี่ยนแปลงและถูกทำให้เสื่อมสภาพลงโดยการพัฒนาสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติทั้งในบริเวณลำน้ำและที่ราบน้ำท่วมถึง แหล่งจับปลาและป่าไม้ ซึ่งเป็นแหล่งอาหารหลักของประชาชนลุ่มน้ำโขงเปลี่ยนไป

บริษัทพลังงานของจีนผลิตไฟฟ้าเอกชน ได้รับสิทธิในการสร้างเขื่อน สร้างโดยไม่มีการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม และถึงแม้ประเทศอื่นๆ ที่สร้างเขื่อนยักษ์กันมาแล้วต่างประสบปัญหามากมายจะบอกอย่างไร จีนก็ไม่เชื่อ แต่ขณะนี้ผลกระทบหลังสร้างเขื่อนในจีนปรากฏชัดขึ้นเรื่อยๆ ชาวบ้านจำนวนมากต้องถูกอพยพโยกย้าย ไร้ที่ทำกิน สูญเสียทรัพยากรส่วนรวมไม่ว่าจะเป็นทุ่งเลี้ยงสัตว์ หรือป่าชุมชน หมู่บ้านและครอบครัวต้องพลัดพราก และเผชิญกับความลำบากมากมายโดยไม่มีสิทธิที่จะอุทธรณ์ใดๆ ผู้สูงอายุจำนวนมากที่ถูกอพยพไม่สามารถปรับตัวได้กับแปลงอพยพที่ตนต้องย้ายไปอยู่ เคยทำนาขั้นบันไดตามไหล่เขาสองฝั่งน้ำ ไร่นาริมฝั่งน้ำของชาวบ้านเกือบทั้งหมดต้องจมอยู่ใต้อ่าง ชาวบ้านที่เคยเป็นเกษตรกรเพาะปลูกบนผืนแผ่นดินที่กว้างใหญ่และอุดมสมบูรณ์ ต้องดิ้นรนออกไปทำงานในเมืองด้วยค่าแรงอันน้อยนิด เด็กๆ ต้องออกจากโรงเรียนเมื่อจบหลักสูตรภาคบังคับเพราะไม่มีเงิน แต่ชาวบ้านก็ต้องยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะนั่นคือ การพัฒนาประเทศเขื่อนบนแม่น้ำหลานชางนอกจากจะผลิตไฟฟ้าแล้ว ยังบอกันว่ามีประโยชน์ช่วยควบคุมกระแสน้ำและป้องกันน้ำท่วมให้กับประเทศท้ายน้ำอีกด้วย

แต่สิ่งที่ชาวบ้านริมโขงที่บ้านสมสบ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เผชิญกลับตรงกันข้าม ชาวบ้านเล่าว่าปัจจุบันน้ำโขงขึ้นลงไม่เป็นธรรมชาติ แปลงผักริมน้ำยามฤดูน้ำลดถูกน้ำท่วมไปหลายหนเมื่อปีที่ผ่านมา เพราะน้ำโขงขึ้นกะทันหัน ชาวบ้านบางคนถึงกับหมดอาลัยเพราะลงปลูกพืชและถูกน้ำท่วมถึง ๓ ครั้งในเดือนเดียว

ยังมีปัญหาอื่นๆ อีกมากมาย ถึงไม่กระทบกับชีวิตของคนที่อาศัยอยู่ในเมืองโดยตรง แต่ท้ายที่สุดก็คือ ปัญหาที่ได้รับร่วมกันของคนทั้งประเทศ นอกจากนั้นการสร้างเขื่อนไซยะบุรีนี้เพื่อขายพลังงานไฟ้ฟ้าให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตของไทย บริษัทก่อสร้าง ช การช่างก็ของไทย ธนาคารที่ให้เงินกู้สำหรับโครงการก็เป็นธนาคารไทย เช่น ไทยพาณิชย์ ประเทศไทยจึงต้องร่วมรับผิดชอบโดยตรง

การสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำในปัจจุบันนี้ในประเทศพัฒนาแล้วเป็นเรื่องที่พยายามหลีกเลี่ยงกันเต็มที่ ล่าสุดคือโครงการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำดานูบในฮังการีและสโลวาเกีย ซึ่งเป็นกรณีให้กลุ่มประเทศที่แม่น้ำดานูบไหลผ่านนำเรื่องขึ้นฟ้องศาลระหว่างประเทศ และแม้แต่เป็นกรณีที่นำเข้าพิจารณาในสหภาพยุโรป ถึงกับเป็นเงื่อนไขที่จะทำให้ฮังการีและสโลวาเกียไม่ได้รับเข้าเป็นสมาชิกอียูได้ จึงต้องระงับไปในที่สุด

แต่กรณีของเขื่อนไซยะบุรีนี้ ปรากฏกว่าสมาชิกประเทศกลุ่มแม่น้ำโขงไม่มีความสามารถที่จะยับยั้งอะไรได้เลย การหยุดการก่อสร้างนี้เป็นเพียงแค่ชั่วคราวในช่วงกระแสต่อต้านไหลเชื่ยว และตามรายงานข่าวของรอยเตอร์เมื่อวานนี้นั้น การก่อสร้างก็ยังดำเนินต่อไปไปตามปกติ ไม่มีมาตรการอะไรที่ยับยั้งได้ผลอยู่แล้ว

ตอบกลับความเห็นที่ 4
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 5
ขอบพระคุณสำหรับทุกความเห็นครับ
มีคุณค่าน่าคิดตามทั้งหมดเลย
เร็วๆนี้ ทราบว่าจะมีการจัดกิจกรรมเพื่อปกป้องแม่น้ำโขง หยุดเขื่อนไซยะบุรี ที่หอศิลปฯ กรุงเทพฯ นะครับ เข้าใจว่าช่วงวันที่ 15-16 กย. ครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 5