สอบถามเรื่องต่ออายุ passport ของบุตรที่ศึกษาอยู่ต่างปท.

ตอนนี้ลูกชายอายุ 17 ปี เรียน High School อยู่ที่ sydney (australia)
passport จะหมดอายุเดือนกันยายนนี้ พอติดต่อที่สถานกงสุลที่ sydney เค้าบอกว่า ทำไม่ได้ ต้องมีเอกสารลายเซ็นยินยอมจากพ่อและแม่ ที่อยู่เมืองไทย
จึงขอปรึกษานะคะว่าต้องไปทำเอกสารนี้ที่ไหนคะ ที่เขตท้องที่ หรือสำนักงานกงสุล ที่แจ้งวัฒนะ หรือที่ปิ่นเกล้าคะ รบกวนด้วยค่ะ

ความคิดเห็นที่ 1
เดี๋ยวนี้ไม่น่าจะต่ออายุ passport ได้แล้วนะครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 1
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 2
ไปทำหนังสือยินยอมจากผู้ปกครองที่เขตหรืออำเภอที่อยู่ พร้อมทั้งสำเนาบัตรประชาชนเซ็นต์ชื่อรับรอง สำเนาใบทะเบียนสมรส สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาใบเปลี่ยนชื่อนามสกุล (ถ้ามี) ลงนามรับรอง


ตอบกลับความเห็นที่ 2
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 3
ต้องทำเล่มใหม่ค่ะ เผอิญพิมพ์ผิดค่ะ
แต่ไม่ทราบว่าพ่อกับแม่ต้องไปทำหนังสิอยินยอมที่ไหนคะ


ตอบกลับความเห็นที่ 3
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 4
http://www.consular.go.th/main/th/services/21987-%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%B2.html

ผู้เยาว์อายุระหว่าง 15 ปีขึ้นไปแต่ยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์
ผู้เยาว์ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปแต่ยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ ที่ทำบัตรประชาชนแล้วสามารถติดต่อขอทำ หนังสือเดินทางด้วยตนเอง โดยมีหนังสือยินยอมของบิดาและมารดา หรือ ผู้มีอำนาจปกครองที่ยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศที่ผ่านการรับรองจากอำเภอ/เขตมาแสดงประกอบการยื่นคำร้อง หากไม่มีหนังสือยินยอม บิดาและมารดาหรือผู้มีอำนาจปกครองผู้เยาว์ต้องมาลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่ในวันที่ยื่นคำร้อง (หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมาไม่ได้ ให้มาลงนามในวันรับเล่ม) หรือ มีหนังสือยินยอม จากฝ่ายที่มาไม่ได้มาแสดง เอกสารที่นำมายื่นขอหนังสือเดินทางต้องเป็นต้นฉบับหากเป็นสำเนาต้องผ่านการรับรองสำเนาถูกต้อง จากหน่วยงานที่ออกเอกสารดังกล่าวเท่านั้น

เอกสารประกอบการขอหนังสือเดินทางธรรมดาของผู้เยาว์ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป แต่ยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์
- บัตรประจำตัวประชาชนที่ยังมีอายุใช้งาน หรือ บัตรประจำตัวที่ใช้แทนตามกฎกระทรวง มหาดไทย
- หนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศที่ผ่านการรับรองจากอำเภอ/เขต และบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ปกครอง พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
- เอกสารอื่น ๆ ที่จำเป็น อาทิ หลักฐานใบเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนนามสกุล เอกสารหลักฐานการรับรองบุตรหรือรับบุตรบุญธรรมใบ
สำคัญการสมรส ทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า ทะเบียนบ้าน คำสั่งศาลกรณีระบุผู้มีอำนาจปกครองแทนบิดามารดา เป็นต้น

ค่าธรรมเนียม
- การทำหนังสือเดินทางเสียค่าธรรมเนียม 1,000 บาท

ความหมายของผู้มีอำนาจปกครอง
กรณีบิดาและมารดาจดทะเบียนสมรสบิดาและมารดาต้องมาลงนาม(ต่อหน้าเจ้าหน้าที่)ในคำร้องขอหนังสือเดินทางทั้งสองฝ่ายหากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่สะดวกมาลงนามในวันที่ผู้เยาว์ยื่นคำร้องให้มาลงนามในวันรับเล่มได้ หรือทำหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ ผ่านอำเภอ/เขต พร้อมบัตรประชาชนที่มีอายุใช้งานบิดา มารดาตัวจริง

- กรณีที่ผู้มีอำนาจปกครองอยู่ในต่างประเทศ ให้ทำหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ ผ่านสถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุลไทยในประเทศที่พำนักอยู่ หากผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปี และผู้ปกครองไม่สามารถมาดำเนินการด้วยตนเองและประสงค์จะมอบอำนาจให้ผู้อื่นมาดำเนินการแทน ต้องมีหนังสือมอบอำนาจ และหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ โดยหนังสือทั้ง 2 ฉบับ ต้องผ่านการรับรองจาก สอท./สกญ. (สถานทูต/สถานกงสุล) กรณีบิดามารดาหย่าตามกฎหมาย ให้ผู้มีอำนาจปกครองผู้เยาว์ตามที่ระบุในบันทึกการหย่าเป็นผู้ลงนามพร้อมแสดงทะเบียนหย่า และบันทึกการหย่า
- ผู้เยาว์ที่เกิดจากบิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรส มารดาสามารถลงนามได้ฝ่ายเดียว โดยให้ทำ บันทึกคำให้การจากอำเภอ/เขตยืนยันว่าไม่ได้จดทะเบียนสมรสพร้อมแสดงหลักฐานบัตรประจำตัวประชาชนที่มีอายุใช้งานเป็น “นางสาว” ต่อเจ้าหน้าที่รับคำร้อง
- มารดาผู้เยาว์ที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสแต่ใช้คำนำหน้า “นาง” สามารถลงนามได้ฝ่ายเดียว โดย นำหนังสือรับรองการอุปการะบุตรแต่เพียงผู้เดียวจากอำเภอ/เขต มาแสดง
- ผู้เยาว์เกิดจากบิดามารดาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน มารดาต้องมาลงนามให้ความยินยอม บิดา ไม่สามารถลงนามยินยอมให้ผู้เยาว์เพียงฝ่ายเดียวได้ เว้นแต่ว่ามีคำสั่งศาลมาแสดงว่าศาลให้บิดาเป็นผู้อุปการะผู้เยาว์แต่ผู้เดียว
- บิดามารดาผู้ให้กำเนิดผู้เยาว์ที่ได้ยกผู้เยาว์ให้เป็นบุตรบุญธรรมของผู้อื่นแล้ว ไม่สามารถลงนาม แทนบิดามารดาบุญธรรมได้ต้องให้บิดา มารดาบุญธรรมเป็นผู้ลงนาม
- เอกสารที่นำมายื่นขอหนังสือเดินทางต้องเป็นต้นฉบับหากเป็นสำเนาต้องได้รับการรับรองสำเนา ถูกต้องจากหน่วยงานที่ออกเอกสารดังกล่าวเท่านั้น

ข้อควรปฏิบัติในวันมายื่นคำร้อง
กรณีบิดาและมารดาจดทะเบียนสมรส บิดาและมารดาต้องมาลงนาม(ต่อหน้าเจ้าหน้าที่)ในคำร้องขอหนังสือเดินทางทั้งสองฝ่าย หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่สะดวกมาลงนามในวันที่ผู้เยาว์ยื่นคำร้อง ให้มาลงนามในวันรับเล่มได้ หรือทำหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ ผ่านอำเภอ/เขต พร้อมบัตรประชาชนที่มีอายุใช้งานบิดา มารดาตัวจริง


ตอบกลับความเห็นที่ 4
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 5
1. หนังสือเดินทางไทยในปัจจุบัน เป็นระบบ e-passport คือบรรจุข้อมูล - รหัส ฯลฯ เฉพาะบุคคลด้วยอีเลคโทรนิคทั้งบนแผ่นปกรวมทั้งในบางหน้า รวมทั้งเพื่อให้ข้อมูลส่วนตัวของผู้ขอหนังสือเดินทางทันสมัย และใหม่อยู่เสมอเพื่อประโยชน์ในการควบคุมดูแลบุคคล .....ด้วยเหตุผลนี้ จึงไม่สามารถต่ออายุในเล่มเดิมเหมือนหนังสือเดินทางในระบบเก่าได้.......ดังนั้นเมื่อเล่มเดิมหมดอายุลง ก็ต้องทำเล่มใหม่ประการเดียว

2. การทำหนังสือเดินทางของเด็กและผู้เยาว์ มีหลัก มีระเบียบกฎเกณฑ์สำคัญว่า ต้องได้รับคำยินยอมจากทั้งบิดา และมารดา หรือจากผู้มีอำนาจปกครองตามกฎหมาย ด้วยเหตุผลเพื่อคุ้มครองเด็กจากการค้ามนุษย์ หรือปกป้องการแย่งชิงเด็กไปจากการปกครองของบิดา หรือมารดาที่ถูกต้องตามกฎหมาย ( เช่นกรณีบิดา - มารดาเป็นปฎิปักษ์กัน ) และ ฯลฯ เพื่อประโยชน์โดยตรงของเด็ก

3. สมมุติว่าบิดา มารดา หรือผู้ปกครองตามกฎหมายมีถิ่นพำนักอยู่กันคนละประเทศกับเด็ก เช่น บิดาอยู่ในประเทศไทย มารดาอยู่ในสหรัฐอเมริกา ส่วนเด็ก อยู่ที่ออสเตรเลีย ดังนี้ ............ การปฎิบัติ คือ

* บิดา ต้องไปติดต่อกับกองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล ถนนแจ้งวัฒนะ เพื่อทำความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรให้เด็กทำหนังสือเดินทางได้

* มารดา ต้องไปติดต่อกับสถานทูตไทยที่กรุงวอชิงตัน หรือที่สถานกงสุลใหญ่ไทย เช่นที่นครลอสแอนเจลิส....เพื่อทำความยินยอม ฯให้เด็ก

จากนั้น ทั้งบิดา และมารดา ต่างก็ต้องส่งเอกสารให้ความยินยอมฯ ที่ได้รับจากทางราชการทั้งสองแห่ง ไปประกอบการขอหนังสือเดินทางของเด็กที่สถานกงสุลใหญ่ไทย ณ นครซิดนีย์

นี่คือตัวอย่างการปฎิบัติตามระเบียบที่เป็นรูปธรรม ในความเป็นจริง

ขอให้โชคดี


ตอบกลับความเห็นที่ 5
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 6
พ่อและแม่ ที่อยู่เมืองไทย ก็ไปทำที่ กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล ที่แจ้งวัฒนะ


ตอบกลับความเห็นที่ 6