มีประเทศไหน คนรวยไม่ต้องติดคุกแบบไทยไหม

..

ความคิดเห็นที่ 1
ประเทศสารขันณ์มั๊ง


ตอบกลับความเห็นที่ 1
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 2
...


ตอบกลับความเห็นที่ 2
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 3
มีเยอะ แต่ไม่เป็นข่าวมั้ง


ตอบกลับความเห็นที่ 3
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 4
ก็ประเทศทีมีการโกงกินมากๆก็คงเป็นล่ะมั้ง


ตอบกลับความเห็นที่ 4
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 5
มีค่ะ ที่รู้เพราะเพื่อนเล่าให้ฟัง มีเม๊กซิโก ฟิลลิปปินส์ อินโดนิเซีย อินเดียและปากีสถานค่ะ

เล่าว่าเงินใต้โต๊ะก็มี แบบพรรคพวกก็มี แบบลูกหลานคนใหญ่โตคนเกรงใจก็มีค่ะ


ตอบกลับความเห็นที่ 5
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 6
อเมริกาครับ รวยมากก็ไปจ้างทนายเก่ง ๆ มาว่าความให้

เรื่องเงินใต้โต๊ะ มันเป็นเรื่องของประเทศที่มีการบังคับใช้กฏหมายไม่เข้มงวด เรียกว่า โกงกันหน้าด้าน ๆ นั่นแหล่ะครับ

ประเทศที่มีการบังคับใช้ฯ เข้มงวดก็ต้องไปหาคนที่รู้ช่องโหว่ของกฏหมายมาช่วย หรือโกงกันแบบแนบเนียนขึ้น


ตอบกลับความเห็นที่ 6
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 7
ดราราฮอลลีวูด


ตอบกลับความเห็นที่ 7
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 8
ทุกชาตืแหละครับ

ที่เราไม่รู้เพราะเราไม่ได้ไปอยู่ ไปเห็นหรือไปคลุกวงใน


ตอบกลับความเห็นที่ 8
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 9
มีแน่นอนประเทศที่ใช้อิทธิพล อำนาจเงิน เส้นสายเหมือนกับประเทศไทยมีประเทศเหล่านั้นอยู่ในทุกทวีป... เพียงแต่คนไทยในไทยไม่รู้ข่าววงในของประเทศเหล่านั้น


ตอบกลับความเห็นที่ 9
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 10
ดาราฮอลลีวูดติดคุกก็มีนะคะ อย่างเวสลีย์ สไนป์ ไงคะ

เห็นว่าติดเพราะเรื่องเกี่ยวกับเงินภาษีอะค่ะ


ตอบกลับความเห็นที่ 10
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 11
ปารีส ติดคุกยังกะรายการเรียลลิตี้ โชว ขายหนังสือ เรื่องเล่าในคุก รวยเพิ่มอีก


ตอบกลับความเห็นที่ 11
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 12
อย่างญี่ปุ่นก็มีนะ คดีดังด้วย (คนกินคน) ของอิสเซ ซากาวะ

นอกเรื่องมาส่วนกฎหมายเยาวชน ลองอ่านคดี จุนโกะ ฟูรุตะ ดูค่ะ
แต่ขอเตือนไว้ก่อนว่าใจไม่แข็ง "ห้ามอ่าน" เดี๋ยวจิตตกเป็นเดือนแบบเรา


ตอบกลับความเห็นที่ 12
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 13
อเมริกาครับ
นักกีฬามีชื่อฆ่าเมีย ขับรถหนี ตำรวจไล่ล่ายังกับในหนัง
โดนจับได้ หาทนายเก่งๆ สู้จนหลุดได้


ตอบกลับความเห็นที่ 13
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 14
เรื่องแบบนี้อย่ามองแง่ลบว่ามีแต่บ้านเราเลยค่ะ ยิ่งเจริญ ยิ่งมี


ตอบกลับความเห็นที่ 14
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 15
มีทุกที่ครับ เราต้องทำความเข้าใจมุมมองของคนรวยมากๆ หรือพวกมีอิทธิพลก่อน

คนพวกนี้เขามองคนอื่นๆทั่วๆไปเป็นเหมือนมดเหมือนปลวก ไม่มีค่าที่จะให้ความสำคัญว่าเป็น "คนเหมือนกัน"

จะบี้ให้ตายเสียอย่างไรก็ได้ จะฆ่ากันล้างโคตรก็ไม่ใช่เรื่องเกินวิสัย เพราะมันก็แค่มดแค่ปลวก

ประเทศที่มนุษย์ได้รับการพัฒนา (ไม่ใช่พัฒนาแต่วัตถุสิ่งของ) จะให้คุณค่าเรื่องปัจเจกบุคคลและความเสมอภาคเป็นธรรม

กล่าวคือ มนุษย์ทุกคนล้วนมีค่ามีความสำคัญ ไม่มีใครพิเศษกว่าใครถึงขนาดที่จะไปกดหัวคนอื่นให้ทำตามใจตัวเองได้

แนวคิดประมาณนี้แหละครับ ที่เป็นตัวช่วยให้สังคมนั้นๆคอยระแวดระวังสอดส่องคนที่มีทีท่าจะยิ่งใหญ่เกินสมควร

แล้วเห็นพ้องต้องกันที่จะวางมาตรการควบคุมไม่ให้มันเกินขอบเขตจนสังคมปั่นป่วนเพราะคนกลุ่มนั้น

เรื่องคลาสสิกที่รู้กันดีคือ Robin Hood ที่ทนความไม่เป็นธรรมไม่ไหวจนต้องทำการกระจายทรัพย์สินเอาเอง

กระนั้น เรื่องแบบนี้ไม่เป็นที่ยอมรับแล้วในโลกสมัยใหม่ เราต้องสร้าง authority ที่ทำเรื่องนี้ได้

เสียดายที่ authorities ทั้งหลายในไทย ตั้งแต่ ตำรวจ อัยการ ศาล ฯลฯ ล้วนแต่เป็นพวก elitist กันหมด

(ตำรวจน่าสงสารที่สุด เพราะเป็น poor elitists คือทั้งจนทั้งต้องนบนอบต่อคนรวยมีอิทธิพล ไม่อย่างนั้นจะอยู่ไม่ได้)

ใ:-)ๆบ้างในไทย ก็ลองค้นชื่อดูเอาได้ครับ Forbes จัดอันดับอยู่ประจำ


ตอบกลับความเห็นที่ 15
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 16
ถ้าจะบอกว่าเหตุการณ์ที่ว่ามีอยู่ทุกที่ก็ดูจะเป็นคำตอบแบบกำปั้นทุบดินกระมังครับ ยังไงก็ไม่ผิดแน่ๆ คนรวยกระทำผิดมีอยู่ทุกหนแห่งแน่นอน แต่เราหมายถึงการกระทำผิดที่ถูกตั้งข้อโดยมีการนำคดีเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมแล้ว และมีอำนาจอิทธิพลมาเปลี่ยนแปลงรูปคดีที่ทำให้คนผิดกลายเป็นไม่ผิดต่างหาก

แม้แต่ดาราดังที่ถูกข้อกล่าวหาและทนายแก้ต่างให้ไม่ผิดได้ นั่นก็ไม่เกี่ยวกับอิทธิพลแต่อย่างใดแต่เป็นความสามารถของทนายที่แก้ต่างให้ผู้ต้องหาพ้นผิดโดยการกระทำที่ถูกต้องตามวิถีทางของกระบวนการยุติธรรมทุกประการ

ประเทศที่คนรวยหรือผู้มิอิทธพลใช้อำนาจไปก้าวก่ายในกระบวนการยุติธรรมได้จึงเป็นประเทศที่สังคมอยู่ในสภาพด้อยพัฒนาหรือกำลังพัฒนาทั้งสิ้น ถ้าจะบอกว่าประเทศยิ่งเจริญ ยิ่งมี ตามที่ คห 14 กล่าวถึงนั้นดูจะเป็นการกล่าวโทษที่เหวี่ยงแห ไม่มีความชัดเจนว่าเกิดที่ไหน อย่างไร?

คนรวยในประเทศพัฒนาทำผิดกฏหมายมีอยู่มากมายเหมือนกับประเทศอื่นๆ แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่เป็นคดีขึ้นมา ก็จะถูกปฏิบัติตามกฏหมายเหมือนกับคนทั่วไป ในบางประเทศกฏหมายไม่มียกเว้นให้แม้แต่การกระทำของเจ้าหน้าที่ที่ทำไปเพื่อต้องการช่วยเหลือชีวิตมนุษย์ กลายเป็นเรื่องขัดความรู้สึกของคนทั่วไปที่จะยอมรับได้ ผมยกตัวอย่างกรณีที่เกิดขึ้นเมื่อราว 10 ปีที่แล้วในเยอรมนี ที่คนร้ายเป็นนักศึกษากฏหมายที่มารับจ้างเป็นครูสอนพิเศษ และกลายเป็นคนลักพาตัวเด็กชายซึ่งเป็นลูกศิษย์อายุ 11 ขวบ ซึ่งพjอแม่เป็นมหาเศรษฐีเจ้าของธนาคาร แล้วเรียกค่าไถ่

วันที่นัดให้พ่อแม่เด็กเอาเงินค่าไถ่ไปวางให้นั้น จึงถูกตำรวจจับตัวได้แต่ไม่ยอมรับสารภาพได้แต่บ่ายเบี่ยงสร้างเรื่องโกหกล่อเอาเถิดกับตำรวจอยู่ 4 วันเต็มๆ โดยไม่ยอมบอกว่าเอาเด็กไปไว้ที่ไหน ยิ่งเวลาผ่านไปโอกาสที่เด็กจะเสียชีวิตยิ่งมีสูงขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดผู้บังคับบัญชาตำรวจสูงสุดที่คุมคดีจึงสั่งให้ตำรวจสอบสวนขู่ผู้ต้องหาว่า ถ้าไม่ยอมบอกว่าเด็กอยู่ที่ไหนก็จะใช้วิธีการเจ็บปวด ผู้ต้องหาถึงยอมบอกในที่สุดว่าได้ฆ่าเด็กไปแล้วตั้งแต่ในวันแรกที่จับตัวเด็กไปและนำตำรวจไปเอาศพเด็กซึ่งทิ้งไว้ในลำคลองขึ้นมาได้ในที่สุด

โดยที่ผู้ต้องหาเป็นนักศึกษากฏหมาย หลังจากผู้ต้องหาถูกตัดสินจำคุกในความผิดแล้วก็มาตั้งคดีฟ้องร้องตำรวจว่าใช้วีธีการข่มขู่ตนในการสอบสวนซึ่งถือว่าเป็นการผิดกฏหมาย ปรากฏว่าศาลตัดสินคดีว่าผู้บังคับบัญชาตำรวจผู้นี้่กระทำผิดกฏหมายจริง ถึงแม้ว่าการกระทำไปนั้นก็เพื่อช่วยชีวิตเหยื่อก็ตาม ศาลตัดสินโทษปรับแต่รอลงอาญา นายตำรวจผู้นี้ถูกย้ายหน่วยราชการและขอลาออก 1 ปีหลังจากนั้น คดีนี้ถือเป็นเรื่องสะเทือนใจต่อสาธารณะชนโดยรวม แม้แต่พ่อแม่เด็กซึ่งต้องเสียลูกกชายไปก็ผิดหวังและสะเทือนใจต่อคำตัดสินของกระบวนการยุติธรรมนี้อย่างมาก

เรื่องยังไม่จบเพียงเท่านี้ ผู้ต้องหานำเรื่องขึ้นสู่ศาลของสหภาาพยุโรปอีกเรียกร้องว่าตนถูกละเมิดสิทธิมนุษย์ชน ขอให้ศาลสั่งลดโทษหรือปล่อยตนเองเป็นอิสระ แต่ศาลสหภาพยุโรปยืนคำตัดสิน

ท้ายที่สุดผู้ต้องหามากลับมาฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากรัฐบาลในรัฐที่เกิดเหตุคดีนี้ขึ้นอีก เรียกค่าเสียหายเป็นเงิน 3000 ยูโร ปรากฏว่าศาลตัดสินให้ชนะคดีและสั่งให้รัฐบาลของรัฐจ่ายค่าเสียหายในที่สุด

คดีนี้ถูกนำมาสร้างเป็นหนังสารคดีเมื่อราวเดือนตุลาคมที่ผ่านมานี่เอง กลับมาปลุกความสลดใจต่อสังคมอีกครั้งหนึ่ง

แล้วจะบอกได้อย่างไรว่า ประเทศพัฒนาแล้วยิ่งเจริญยิ่งมีการใช้อิทธิพลไปเปลี่ยนแปลงกระบวนการยุติธรรมได้?

แต่ผมจะบอกต่อไปว่า ประเทศพัฒนาแล้วในยุโรปที่คนรวยและผู้มีอิทธิพลทำผิดแล้วไม่ติดคุกนั้นมีอยู่จริงๆ นั่นคือประเทศอิตาลี ซึ่งนายกคนก่อนนคือนาย แบร์ลุสโคนี่ ผู้เป็นเจ้าของธุรกิจด้านสื่อมวลชนที่ใช้อำนาจและอิทธพลในตำแหน่งผู้นำประเทศมาทำให้ตนเองหลุดพ้นจากคดีที่ถูกฟ้องศาลจำนวน 11 คดีได้ทั้งหมด ระหว่างอยู่ในตำแหน่งก็ใช้อำนาจที่พรรคการเมืองตนมีเสียงข้างมากในสภาแก้ไขกฏหมายให้ออก immunity คุ้มครองตนเองให้พ้นโทษและทำให้การดำเนินคดีของศาลต้องหยุดชะงักไปจนในที่สุดคดีต้องหมดอายุความไป

ตอบกลับความเห็นที่ 16
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 17
เท่าที่เคยคุยถามมา ถามกี่ประเทศก็บอกว่ามีหมด ยิ่งเฉพาะคนจีนเล่ายาววววเลยคะ


ตอบกลับความเห็นที่ 17
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 18
พูดถึงประเทศจีน ข่าวล่าสุดที่ออกมาว่า นายกเหวิ่น เจียเบา ซึ่งกำลังจะหมดวาระตำแหน่งนายกในเร็ววันนี้และเป็นผู้แสดงภาพพจน์ตนเองว่าเป็นคนมาจากชนชั้นล่างยากจนยืนเคียงบ่าเคียงไหล่กับประชาชนยากจนชาวจีนมาตลอด กลายเป็นเศรษฐีมีทรัพย์สินอยู่ในชื่อของสมาชิกครอบครัวทั้งหมดราว 2.7 พ้นล้านดอลล่าร์สหรัฐตามรายงานล่าสุดของนิวยอรค์ไทม์ส ยิ่งใกล้วาระประชุมใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์เพื่อเปลี่ยนแปลงอำนาจ แต่งตั้งระดับผู้บริหารคนใหม่ ยิ่งมีข่าวคอรัปชั่นหลายกรณี


ตอบกลับความเห็นที่ 18
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 19
กรณีคำตัดสินดังในความคิดเห็นที่16 นี่เป็นอะไรที่ไม่น่าเกิด แต่ดิฉันไม่แปลกเลยว่ามันจะเกิดขี้นได้ที่เยอรมัน


ตอบกลับความเห็นที่ 19
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 20
ที่คุณ Uwa คห 19 ว่ามานั้นผมเห็นด้วยทั้ง 2 กรณี ความเข้าใจของผมคือ เป็นอะไรที่ไม่น่าเกิดนั้นต้องมีเงื่อนไขว่าถ้ากรณีนี้เกิดขึ้นในประเทศอื่นส่วนใหญ่ในโลก และไม่แปลกที่จะเกิดขึ้นได้ในเยอรมนี

ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่า เมื่อกฏหมายกำหนดไว้อย่างชัดเจนในหมวดของ "การละเมิดสิทธิมนุษยชน" ว่าห้ามมีการข่มขู่หรือบังคับทารุณ "ผู้ต้องหา" หรือ "ผู้ต้องสงสัย" ในทุกกรณีอย่าง "ไม่มีข้อยกเว้น" กฏหมายนี้ปรากฏอยู่ใน European Human Rights Law ซึ่งใช้บังคับทุกประเทศในสหภาพยุโรป 27 ประเทศ การพิจารณาของศาลจึงไม่มีทางออกอื่นใดนอกจากที่จะตัดสินไปตามตัวบทกฏหมาย เราถึงเรียกว่า กฏหมายศักดิ์สิทธิ์ใช้กับประชาชนทุกคนเหมือนกันหมดไม่ว่าจะเป็น คนธรรมดา นักการเมือง คนรวย และแม้แต่ตำรวจผู้รักษากฏหมายเอง

ลองสมมุติดูว่า ถ้ากฏหมายเปิดช่องยกเว้นให้ว่า การข่มขู่และกระทำทารุณผู้ต้องหาสามารถทำได้ถ้าทำให้สามารถช่วยชีวิตผู้ถูกกระทำได้ แน่นอนที่สุดว่า เจ้าหน้าที่บ้านเมืองจะใชัเหตุผลนี้อ้างเพื่อทำให้งานของตนง่ายที่สุดในทุกกรณี และนั่นหมายถึงความหายนะของบ้านเมืองที่จะหมดสิ้นความยุติธรรมไปทันที

ผมเชื่อว่า การห้ามข่มขู่และทารุณผู้ต้องหานั้นมีกำหนดอยู่ในกฏหมายของทุกประเทศที่ปกครองด้วยระบบประชาติปไตยเต็มใบซึ่งรวมทั้งสหรัฐอเมริกาและไทย แต่เรายังเห็นปรากฏอยู่ในข่าวเสมอๆ ที่ตำรวจอเมริกาซ้อมผู้ต้องหา ส่วนในประเทศไทยนั้นไม่ต้องพูดถึงอยู่แล้ว

คดีที่เกิดขึ้นในเยอรมนีนี้เรียกว่า Jokob von Metzler ซึ่งเป็นชื่อของเด็กที่เสียชีวิต เมื่อผู้ต้องหาคือ Magnus Gäfgen ร้องเรียนเรื่องนี้และปรากฏต่อสาธารณะนั้น ทั่วโลกจับจ้องกระบวนการยุติธรรมของเยอรมันทันทีทุกย่างก้าว ศาลจะให้น้ำหนักกับเหตุผลที่ตำรวจข่มขู่ผู้ต้องหาเพื่อช่วยชีวิตเหยื่อเอามาพิจารณาให้ยกโทษได้หรือ? กระบวนการยุติธรรมจะยังเอาอะไรเป็นหลักการในการตัดสิน?

เยอรมนีเป็นประเทศใหญ่ที่สุดในยุโรปไม่เพียงแต่ขนาดของประเทศ จำนวนประชากรและขนาดเศรษฐกิจ การกระทำใดๆ ย่อมจะถูกนำไปใช้เป็นบรรทัดฐานและอ้างเป็นเยี่ยงอย่าง ที่สำคัญยิ่งกว่านั้น ประวัติศาสตร์ของเยอรมนีในช่วงนาซีครองอำนาจซึ่งมีการทำการทารุณฆ่าศัตรูทางการเมืองอย่างไม่ยกเว้น ยิ่งทำให้ประเทศตกเป็นเป้าหมายถูกจับจ้องว่า เยอรมนีได้ทำการเรียนรู้สิ่งที่ผิดในอดีตและแก้ไขเสียให้ถูกต้องแล้วหรือยัง? กฏหมายที่กำหนดอยู่ในทุกตัวบทนั้นมีการนำมาปฏิบัติการจริงหรือไม่?

ฉะนั้นการตัดสินของกระบวนการยุติธรรมในกรณี้นี้ ไม่เพียงแต่จะเป็นการพิสูจน์ให้ทั่วโลกได้เห็นถึงความศักดิสิทธิ์ของกฏหมายเท่านั้น แต่ทำให้ประชาชนทั่วไปมั่นใจได้ว่า ทุกคนอยู่ภายใต้กฏหมายอย่างไม่มีข้อยกเว้น และต้องแยกพิจารณาการกระทำออกจากกันอย่างสิ้นเชิง จะเอามาลบล้างความผิดกันไม่ได้ จำเลยได้รับโทษที่ลักพาตัวคนไปเรียกค่าไถ่และฆาตกรรม ตำรวจต้องได้รับโทษที่ไปข่มขู่ผู้ต้องหา ทั้งสองกรณีเป็นการกระทำผิดกฏหมายทั้งคู่

นายตำรวจระดับสูงผู้นี้คือ Wolfgang Daschner ได้รับความเห็นใจและกำลังใจจากประชาชนอย่างท่วมท้น ปัจจุบันมีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับครอบครัวนายธนาคารผู้เคราะห์ร้าย และให้สัมภาษณ์หลังการตัดสินของศาลว่า ยินดีรับความผิดของตนเพราะเป็นคนรับสารภาพมาตั้งแต่ตนว่าได้กระทำไปจริงและไม่เสียใจแม้แต่น้อยต่อการกระทำของตน

ปล ผมขอแก้ไขข้อมูลเรื่องโทษของ Daschner ว่า ได้รับลดหย่อนโทษไม่ต้องออกจากราชการ แต่ถูกย้ายไปอยู่ในฝ่ายอื่นและขอลาออกเองหลังจากนั้น 1 ปีต่อมาก่อนกำหนดเกษียน ซึ่งเท่ากับว่า Daschner ได้รับบำนาญแต่น้อยกว่าบำนาญเกษียนตามจำนวนเต็ม

ตอบกลับความเห็นที่ 20
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 21
คห. 16

ข้อมูลบ้างจุดผิดนะคับ ลองไปอ่านใหม่ดูดีๆนะคับ รึไม่ก็ขอความกรุณา
link ข่าวไว้ก็ได้คับ เดียวเข้ามาอ่าน

ตอบกลับความเห็นที่ 21
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 22
เมื่อเจอที่ผิดก็แก้มาเลยครับ ถึงได้บอกรายละเอียดชื่อของคดีไปเพราะมีเจตนาอยู่แล้วว่าให้คนอื่นไปหาอ่านได้ด้วย แก้มาเลยว่าผิดตรงไหน? เข้า wiki เลยไม่ต้อง link ให้เสียเวลา คนส่วนใหญ่ไม่อ่านภาษาเยอรมันอยู่แล้ว คนที่อ่านได้ก็สามารถตาม Key word ที่ให้้ไปตามอ่านเหมือนที่คุณทำ

ถ้าให้เดาก็คงผิดที่ว่า

1) จำเลยถูกจับหลังจากวันที่ไปเอาเงินค่าไถ่ 1 วัน เนื่องจากเอาเงินไปแล้วแต่ไม่ได้กลับไปหาเด็กอีกเลย ทำให้ตำรวจต้องจับตัวจำเลยมาเพื่อสอบปากคำ และดำเนินการขู่หลังจากนั้นอีก 1 วันหลังจับตัวผู้ต้องหา รวมตั้งแต่วันที่เด็กหายไปวันที่ 27 กันยายน 2002 ทั้งหมด 4 วัน

2) การไป้ฟ้องร้องศาล ของสหภาพยุโรปนั้นตัดสินว่า การกระทำการข่มขู่จำเลยนั้นเป็นการทำผิดสิทธิมนุษยชนจริง และเป็นสาเหตุให้ศาลสูงของ Frankfurt กลับคำตัดสินของสาลขั้นต้นของรัฐ Hessen ตามศาลสหภาพยุโรป และรัฐต้องจ่ายเงินค่าเสียหายให้แก่จำเลย 3000 ยูโร



ตอบกลับความเห็นที่ 22
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 23
คห 21 ไหนๆ คุณก็ออกมาช่วยชี้แนะแล้ว ผมขอความช่วยเหลือคุณช่วยอธิบายเพิ่มเติมเสียเลย

โทษของ Daschner ถือว่าไม่ถูก vorbestraft จึงกลับเข้ารับราชการได้แต่ถูกย้ายหน้าที่และลาออกเองในเวลาต่อมา คุณช่วยอธิบายหน่อยครับว่าเป็นเพราะอะไร?

ช่อง ZDF ซึ่งเป็นทีวีช่องของรัฐบาลนำเอาคดีนี้มาทำเป็นหนังเชิงสารคดีออกฉายเมื่อวันที่ 24 กันยายนที่ผ่านมา


ตอบกลับความเห็นที่ 23
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 24
คำถามโลกแคบประจำวัน


ตอบกลับความเห็นที่ 24
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 25
คห 24 ท่านคงหมายถึงโลกแคบของท่านเองเปรียบได้ดั่งเช่นกะลา? คำถามนั่นมีไว้สำหรับคนเก่งๆ แบบ คห 21 ที่กรุณาออกมาช่วยชี้แนะท้วงติง ถึงได้ถามกลับขอความสงเคราะห์

ตอบกลับความเห็นที่ 25
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 26
ประเทศที่ใช้กฏหมายตัดสินคดี มันก็ต้องมีช่องโหว่อยู่แล้ว
อเมริกาทนายเก่งๆ ก็หาข้อยกเว้นมาทำให้พ้นจนได้ แต่ก็แลกมาด้วยเงินจำนวนไม่น้อยกว่าจะรอด
แต่อเมริกาที่รอดนี่คือ ไม่ใช่เดินตัวปลิว ก็อาจจะมีโดน community service หรือ อะไรอย่างอื่นเพิ่มเติม


ตอบกลับความเห็นที่ 26
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 27
เรื่อง คห.16 เราก็เคยได้ยินมาค่ะ
เป็นอะไรที่เยอรมันมากๆ ดำคือดำ ขาวคือขาว


ตอบกลับความเห็นที่ 27