อยากหาที่เรียนภาษามลายู (บาฮาซา มาเลเซีย) ในไทย มีที่ไหนแนะนำบ้างครับ

คือตอนนี้ผมกำลังทำวิทยานิพนธ์ปริญญาโทในไทยอยู่ ตั้งใจไว้ว่าเมื่อเรียนจบโทแล้วจะทำปริญญาเอกต่อ ทีนี้ประเด็นที่ผมสนใจทำวิจัยในอนาคตต่อไปนั้นมันดันเกี่ยวข้องกับประเทศมาเลเซียด้วย เลยอยากจะรู้ภาษาเขาด้วยเพื่อจะได้ศึกษาในเชิงลึกได้ แต่ตัวผมนี่ยังไม่มีพื้นภาษามลายูเลย คือมีเวลาอีก 1 ปีกว่าก่อนจะจบโท ผมอยากจะลองหาที่เรียนปูพื้นฐานคร่าวๆ ก่อน มีที่ไหนแนะนำบ้างมั้ยครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ

ความคิดเห็นที่ 1
ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่หาดใหญ่มีเปิดสอนนะคะ น้องชายเคยเรียนตอนเรียนปริญญาตรีค่ะ


ตอบกลับความเห็นที่ 1
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 2
ติดต่อ
ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ห้อง 50317 อาคารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 94000
โทรศัพท์ 0-7331-3930-50 ต่อ 3051

และรู้จักอาจารย์ที่ นิด้า กทม. ที่น่าจะมีประโยชน์กับคุณ
ถ้าสนใจ pm เข้ามาครับ


ขออนุญาตเล่า ทักษะด้านภาษาและงานวิจัย

ครั้งหนึ่ง ต้องดูแลการทำวิทยานิพนธ์ ของนักศึกษาจากโคลัมเบีย มิสซูรี
และอีกคน จาก อิทากา นิวยอร์ก

ทั้งสองมาศึกษา ต่างปี และต่างความสนใจในรายละเอียดของการวิจัย
เรียนมาตลอด ไม่เคยทำงานอย่างจริงจัง คือไม่เคยมีงานประจำ
ไม่เคยมาเอเซีย และแน่นอนพูด อ่าน เขียนไทย ได้น้อยมาก
ไปเรียนเตรียมตัวนิดหน่อย ก่อนมาทำวิจัยที่ไทย

คร่าวๆ ทั้งสองต้องการศึกษา
ชีวิตความเป็นอยู่และพฤติกรรมการมีส่วนร่วม
ของชาวชนบทไทย ในคาบสมุทรสทิงพระ ที่อำเภอสทิงพระ สงขลา
และอีกแห่ง ไม่ไกลออกไปมากนัก คือ อำเภอหัวไทร นครศรีฯ

ผมได้ช่วยเหลือ เพียงให้มีพี่เลี้ยงเป็นนักศึกษาไทยหนึ่งคน
ร่วมเดินทางออกพื้นที่ในช่วงแรก เป็นบางครั้งบางคราว
เพราะเกรงอันตรายจากนักเลงหัวไม้
หรือจากคนในพื้นที่บางคนซึ่งมีนิสัยไม่ดี และไม่เข้าใจการทำงานของเขา

เน้นคนที่มาจากมิสซูรี่
เวลาผ่านไปสองเดือน มาบอกผมว่า เขาอยากจะเล่าเรื่องต่างๆ
ว่า ที่เขาหายไปและฝังตัวอยูในพื้นที่นั้น ได้อะไรมาบ้าง

สิ่งที่เขานำมาแสดง เป็นแผนผัง ทีแสดงความเป็นไปในพื้นที่
ในแง่ อิทธิพล ความสัมพันธ์ และผลกระทบ
ของตัวแปรต่างๆที่กำหนดในการศึกษา
อย่างละเอียด ชัดเจน ไม่ต้องอาศัยคำอธิบายประกอบ
แต่ผมยังสามารถเข้าใจได้

ผมเงียบ แต่ในใจฉงนว่า ไอ้หมอนี้ ไปทำความเข้าใจ มาได้อย่างไร
จึงสามารถสรุป ออกมาเป็นฉากๆ ดังปรากฏในแผนผังที่เอามาให้ดู

ผมนั่งรถเมล์ประจำทางผ่านพื้นที่ เพื่อกลับบ้านทุกอาทิตย์
จำต้นมะพร้าว และตาลตะโหนดข้างทาง ได้เกือบทุกต้น
ในเวลาอันสั้นๆ และข้อจำกัดด้านภาษาอย่างเด็กคนนี้
ผมจะไม่สามารถวิเคราะห์ และสังเคราะห์ ประเด็นต่างๆ
เพื่อสรุป และนำมาให้ใครดูในเบื้องต้น ได้อย่างนี้เป็นแน่

อย่างนี้หรือไม่ครับ
ที่มักจะได้ยินกันเสมอว่า
นักเรียนฝรั่งมักจะมี "critical thinking" ดีกว่าใคร
ขออภัยนอกประเด็น

ตอบกลับความเห็นที่ 2
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 3
ขออนุญาตจขกททักทายคุณ คุณ : newcomer (gpvtu2009) นะครับ
คุณ : newcomer (gpvtu2009)
ความน่าทึ่งเกิดขึ้นได้เสมอครับ ผมขับรถจากทุ่งสงพอเลยหาดใหญ่ไปไม่เท่าไรคิดในใจว่า นี่มันเมืองไทยหรือเปล่าหรือว่าเข้าเขตมาเลเซียแล้ว แต่พอเข้าเขตมาเลเซียจริงๆก็ทึ่งอีกว่าเขาทิ้งเราไปขนาดนั้นแล้วหรือ ต่างกันมากกับเมื่อห้าสิบกว่าปีก่อนที่ผมเคยมา ไปนิดเดียวไฮสปีดอินเตอร์มีทั่วไปแต่ที่บ้านมโทรศัพท์สายยังไม่สามารถมีได้เลย
พูดถึงนักเรียนภาษา ผมสอนภาษาไทยให้ฝรั่งคนหนึ่งที่มารับราชการสหรัฐในไทย ผมออกเสียงไหนเธอทำได้หมดจริงๆ เหลือเชื่อว่าหกเดือนผ่านไปทั้งพูดและอ่านปร๋อเลย ผมถามตรงๆว่าทำไม่เธอจึงสามารถขนาดนี้ เธอบอกว่าไม่มีอะไรพิเศษนอกจากจบปริญญาโททางดนตรีจึงอาจจะช่วยให้สามารถจับเสียงได้ดีกว่าคนอื่น ทั้งสามีแลเภรรยาพูดได้ทั้งจีนและไทยเป็นอย่างดี ทำงานอะไรผมไม่ทราบ
นี่แหละนอกเรื่องจริงๆ

อีกอย่างหนึ่ง นักเรียนที่คุณ : newcomer (gpvtu2009) พูด เขาอาจจะมีกรอบคำถามมาเรียบร้อยแล้วก็ได้ มาถึงก็หาคำตอบกันเลยทีเดียว

ขอให้จขกทโชคดีและประสบความสำเร็จครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 3
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 4
สวัสดีครับคุณอิสวาสุ
คิดถึงอยู่พอดี เห็นเงียบๆไป นึกว่าหายไปไหน
เลยเอาเรื่องปักษ์ใต้ มาล่อให้ออกมา แผนนี้ได้ผลแฮะ
อ่านเรื่องเล่าผมแล้ว คิดถึงบ้านใช่ไหมเอ่ย

จริงอย่างคุณว่า ความแตกต่าง ระหว่างเมืองกับชนบทในไทย ยังมีอยู่มาก
แต่สิบห้าปีที่ผ่านมา พอได้เห็นพัฒนาการ ที่เป็นรูปธรรม อยู่บ้าง
ที่ส่งผลให้ เมืองและชนบทไทย มีความแตกต่างกันน้อยลงนะ

ที่สังเกตเห็นได้ ในชนบททางเหนือและใต้ มีอะไรดีขึ้นอย่างชัดเจน เช่น
ระบบถนน การขนส่ง ไฟฟ้า โรงพยาบาล โรงเรียน
และแน่นอน การติดต่อสื่อสาร ยกเว้นที่บ้านคุณอิสวาสุ

แต่เมื่อเปรียบเทียบกับมาเลเซีย และบรูไน เราตามหลังเขามาก
สิ่งหนึ่งน่าเป็นห่วง ในเมืองชายแดนไทยทางใต้ ณ เวลานี้ คือน้ำมันเถื่อน
เร็วๆนี้ ธุรกิจนี้เติบโตอย่างพรวดพราด จนผิดสังเกต

ถูกต้องครับ เด็กฝรั่งไม่ว่า อเมริกันหรือฝรั่งเศส
หรือญี่ปุ่นทีมาทำวิจัยในไทย รวมทั้งนักวิจัยอาวุโสของเขา
เขาเตรียมตัวมาดีมาก พอมาถึงพื้นที่
รวดเร็วเหมือนกระสุนพุ่งเข้าหาเป้า
แต่หลังจากเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้
โครงการวิจัยดังกล่าวก็เงียบไป
ใครเขาอยากจะมาเสี่ยงละครับ เป็นลูกเต้าผม ก็ไม่ให้ไป


ตอบกลับความเห็นที่ 4
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 5
ถ้าอยู่ กทม. ช่วงวันและเวลาราชการ แนะนำภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงครับ รหัสวิชา MAL1001 เป็นต้นไป รายละเอียดตามนี้เลยครับ (ก่อนผมจะลงใต้ ผมก็เรียนภาษามลายูมาจากที่นี่ครับ)
http://www.ru.ac.th/doc/MR30/155.pdf

ถ้านอกเวลาราชการ สถาบันภาษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง เปิดสอนบาฮาซาอินโดนีเซียครับ พอจะเรียนรู้พื้นฐานได้ เพราะใกล้เคียงกัน www.ril.ru.ac.th

ตอบคุณ gpvtu2009
"ถูกต้องครับ เด็กฝรั่งไม่ว่า อเมริกันหรือฝรั่งเศส
หรือญี่ปุ่นทีมาทำวิจัยในไทย รวมทั้งนักวิจัยอาวุโสของเขา
เขาเตรียมตัวมาดีมาก พอมาถึงพื้นที่
รวดเร็วเหมือนกระสุนพุ่งเข้าหาเป้า
แต่หลังจากเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้
โครงการวิจัยดังกล่าวก็เงียบไป
ใครเขาอยากจะมาเสี่ยงละครับ เป็นลูกเต้าผม ก็ไม่ให้ไป "

- ตอนนี้ก็ยังมีนักวิจัยต่างชาติมาบ้างนะครับ เยอะพอสมควรครับ ส่วนใหญ่ก็เรื่องแนวๆ conflict study นี่แหละ


ตอบกลับความเห็นที่ 5
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 6
ศูนย์ภาษา ม.ธรรมศาสตร์ รังสิต

ตอบกลับความเห็นที่ 6
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 7
ขอทายคุณnewcomer (gpvtu2009)ว่านักศึกษาที่มาเป็นนักศึกษาทางมานุษยวิทยาใช่ไหมครับ
ถ้าใช่ก็ไม่น่าแปลกใจหรอกครับ นักศึกษาทางมานุษยวิทยาในเมืองไทย ผมเชื่อว่าทำได้เกือบทุกคน
นักวิจัยมานุษยวิทยาของไทยในภาคใต้นี้เยอะมากครับ เพียงแต่ข้อเสนอต่างๆไม่ได้รับการตอบรับจากรัฐบาลและผู้มีอำนาจ
ศาสตร์ทางมานุษยวิทยายังไม่ได้รับความสนใจมากนักในเมืองไทยทั้งที่ความจริงวิชาการด้านนี้น่าจะเข้าใจปัญหาได้มากที่สุด


ตอบกลับความเห็นที่ 7
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 8
ความคิดเห็นที่ 7
ไม่ใช่ครับ เป็นสังคมวิทยาชนบท หรือที่รู้จักกันดีคือ Rural Sociology
โครงการนี้ ไม่มีอะไรซับซ้อน รัฐบาลและผู้มีอำนาจ
ไม่ได้เข้ามามีส่วนสนับสนุน หรือขัดขวางอะไร อย่างที่คุณเข้าใจ

ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ จะเอานักวิจัยต่างประเทศเข้ามา
เพราะมองข้าม ความรู้ความสามารถนักวิจัยไทย แต่ประก่ารใด ครับ
เป็นการร่วมมือทางวิชาการธรรมดาๆ


ของมหาวิทยาลัยไทยและต่างประเทศ
เพื่อผลิตบัณฑิตด้านนี้เท่านั้นเอง ครับ

นักศึกษาและนักวิจัยไทยคนไหน
อยากเรียนหรือเข้าร่วมโครงการ ไม่มีปัญหาอะไร
ถ้าเขาเข้าเกณฑ์ หรือ มีคุณสมบัติครบถ้วน
หรือ ณ เวลานั้นมีหน้าที่การงานที่ต้องเกี่ยวข้อง
เท่านั้นเองครับ

และที่สำคัญงานลักษณะนี้ ในส่วนที่ผมเกี่ยวข้อง
ได้ยุติไปนานกว่าสิบปีแล้วครับผม

ตอบกลับความเห็นที่ 8
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 9
สนใจเรียนภาษาบาฮาซามาเลเซีย ที่ www.aseanlanguagecenter.com เป็นศูนย์รวมครูสอนภาษาอาเซียนทั้งชาวไทยและเจ้าของภาษาโดยสอนทั่งภาษามาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์ พม่า ลาว เวียดนาม เขมร จีน และอังกฤษ สามารถไปสอนตามสถานที่ที่คุณสะดวกเรียนค่ะ
สนใจติดต่อได้ที่ : [email protected]
sinvFmi : 09 1994 5113
ตอบกลับความเห็นที่ 9
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 10
ภาษามาเลเรื่องง่ายๆๆ รับสอบพิเศษภาษามาเลคะ
คือฉันเป็นใต้ เกิดที่ นราธิวาส นับว่าพูดภาษานี้ตั้งแต่จำความได้เลยละ
ถ้ามีใครสนใจเรียนติดต่อมาได้นะคะ เบอโทร 0980266298
ที่เรียน อยู่จังหวัดสงขลา อำเภอเมือง คะ
ตอบกลับความเห็นที่ 10
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 11
บาฮาซามาเลย์เซีย/อินโดนิเซียพื้นฐาน (30 ช.ม)
เรียนรู้โครงสร้างบาฮาซามาเลย์เซีย/อินโดนิเซีย หลักไวยากรณ์เบื้องต้น ฝึกทักษะการฟัง พูดคำและประโยคในบาฮาซามาเลย์เซีย/อินโดนิเซีย ถูกต้อง พูดทักทาย สนทนาประโยคสั้นๆในชีวิตประจำวัน ฝึกการอ่านออกเสียงพยัญชนะ ประสมคำ อ่านประโยคสั้นๆ ฝึกการเขียนตัวอักษรแบบตัวเดี่ยวและตัวติด การเขียนตามคำบอก เขียนประโยคสั้นๆ
สนทนาบาฮาซามาเลย์เซีย/อินโดนิเซีย ทั่วไป (20 ช.ม)
เน้นทักษะการฟังและพูดบาฮาซามาเลย์เซีย /อินโดนิเซีย โดยไม่จำเป็นต้องอ่านออกเขียนได้ เรียนรู้วิธีการกล่าวคำทักทาย แนะนำตนเอง วิธีถาม-ตอบประโยคสั้นๆ สนทนาภาษาอาหรับในชีวิตประจำวัน ผ่านการฝึกปฎิบัติในสถานการณ์จริง

กอน 08-1067-6782
ตอบกลับความเห็นที่ 11
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 12
มาเรียนที่ศุนย์ภาษากองทัพบกใก้ลสถานีรถไฟสามเสนซิครับ เปิดหลักสูตรยาวสิบเดือนมีภาษาอาเซียนเกือบทุกภาษา ตั้งเเต่มาเลเซีย
เวิยดนาม พม่า จีน มลายูถิ่น เขมร เเต่เงิือนไขต้องเป็นข้าราชการนะครับ
ตอบกลับความเห็นที่ 12
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 13
บาฮาซามาเลย์เซีย/อาหรับพื้นฐาน (30 ช.ม)
เรียนรู้โครงสร้างบาฮาซามาเลย์เซีย/อินโดนิเซีย หลักไวยากรณ์เบื้องต้น ฝึกทักษะการฟัง พูดคำและประโยคในบาฮาซามาเลย์เซีย/อินโดนิเซีย ถูกต้อง พูดทักทาย สนทนาประโยคสั้นๆในชีวิตประจำวัน ฝึกการอ่านออกเสียงพยัญชนะ ประสมคำ อ่านประโยคสั้นๆ ฝึกการเขียนตัวอักษรแบบตัวเดี่ยวและตัวติด การเขียนตามคำบอก เขียนประโยคสั้นๆ

สนทนาบาฮาซามาเลย์เซีย/อาหรับ ทั่วไป (20 ช.ม)
เน้นทักษะการฟังและพูดบาฮาซามาเลย์เซีย /อินโดนิเซีย โดยไม่จำเป็นต้องอ่านออกเขียนได้ เรียนรู้วิธีการกล่าวคำทักทาย แนะนำตนเอง วิธีถาม-ตอบประโยคสั้นๆ สนทนาภาษาอาหรับในชีวิตประจำวัน ผ่านการฝึกปฎิบัติในสถานการณ์จริง
กอน 08-1067-6782
ตอบกลับความเห็นที่ 13
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 14
เรียนรู้โครงสร้างบาฮาซามาเลย์เซีย/อาหรับ หลักไวยากรณ์เบื้องต้น ฝึกทักษะการฟัง พูดคำและประโยคในบาฮาซามาเลย์เซีย/อาหรับ ที่ถูกต้อง พูดทักทาย สนทนาประโยคสั้นๆในชีวิตประจำวัน ฝึกการอ่านออกเสียงพยัญชนะ ประสมคำ อ่านประโยคสั้นๆ ฝึกการเขียนตัวอักษรแบบตัวเดี่ยวและตัวติด การเขียนตามคำบอก เขียนประโยคสั้นๆ

หรือ เน้นทักษะการฟังและพูดบาฮาซามาเลย์เซีย /อาหรับ โดยไม่จำเป็นต้องอ่านออกเขียนได้ เรียนรู้วิธีการกล่าวคำทักทาย แนะนำตนเอง วิธีถาม-ตอบประโยคสั้นๆ สนทนาภาษามาเลย์เซีย / อาหรับในชีวิตประจำวัน ผ่านการฝึกปฎิบัติในสถานการณ์จริง

สำหรับผู้เรียนที่อยู่ในกรุงเทพฯ ไม่จำกัดช่วงอายุ เรียนแบบสบายๆ เข้าใจง่าย ราคามิตรภาพ

ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อเพื่อสอบถามรายละเอียดอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ กอน ตามที่ช่องทางต่างๆดังนี้ ตลอด 24ช.ม.ครับ^^

Mobile Phone: 081-0676782

Line ID: furkornsulong

E-mail: [email protected]

สนใจสามารถลองติดต่อมาสอบถามกันก่อนได้ครับ ยินดีให้คำแนะนำ
ตอบกลับความเห็นที่ 14
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 15
Find more details at http://www.alhijrahcentre.com ด้วยเทคนิคการสอนจากเจ้าของภาษาที่ทำให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ภาษาได้เร็วสามารถใช้ภาษามาเลเซียดังเช่นเจ้าของภาษา


ตอบกลับความเห็นที่ 15